ยุทธศาสตร์ 3ป.
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) มุ่งมั่นจะขับเคลื่อนพันธกิจด้วย ยุทธศาสตร์ 3 ป.
ปลูกฝังค่านิยมใหม่ในสังคม โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน สนับสนุนให้เกิดการยกย่องคนดีมีศีลธรรม
ค่ายเยาวชนไทยไร้คอร์รัปชัน Youth 2020
ร่วมมือกับองค์กรด้านเยาวชน ศูนย์คุณธรรมและภาคีอื่นๆ 13 องค์กร จัดอบรมนิสิตนักศึกษาทั่วประเทศในรูปแบบของค่ายเยาวชนที่สนุกและเข้าใจง่ายเพื่อให้คนรุ่นใหม่รู้เท่าทันการโกงในแบบต่างๆ มองเห็นความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมและเน้นการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้เยาวชนเรียนรู้ภาวะผู้นำที่ กล้าหาญ รวมถึงฝึกหัดพัฒนาโครงการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน
โครงการ New Gen New Media
จัดประกวดผลงานสื่อสารคดีและอินโฟกราฟิกสำหรับนักศึกษานิเทศศาสตร์ในหัวข้อ“ผลกระทบของการโกง” เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ถึงปัญหาการคอร์รัปชันที่สร้างความเสียหายกับประเทศชาติ และมุ่งหวังให้วิชาชีพสื่อสารมวลชนช่วยกันสร้างความเปลี่ยนแปลงในอนาคตข้างหน้า
ภาพยนตร์โฆษณาชุด “อย่าให้คนโกงมีที่ยืนในสังคม”
จัดทำภาพยนต์โฆษณาต่อต้านคอร์รัปชันชุด “อย่าให้คนโกงมีที่ยืนในสังคม” ทั้งหมด 6 ตอน เพื่อเผยแพร่ทางโทรทัศน์และสื่อโซเชียลมีเดีย
ทำหน้าที่เสมือนหมาเฝ้าบ้านสอดส่องดูแลให้เกิดการคอร์รัปชันน้อนที่สุด รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือหรือกระบวนการที่จะลดโอกาสของการโกงกิน
โครงการหมาเฝ้าบ้าน
พ.ร.บ.อำนวยความสะดวก
ผลักดันการปฏิรูปกฎหมายด้านการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชัน
ร่วมผลักดันกฎหมายที่ส่งผลดีต่อการต่อต้านคอร์รัปชันอาท
- พ.ร.บ. อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
- พ.ร.บ. ปรับปรุงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ป.ป.ช. พ.ศ. 2542
- พ.ร.ฎ. การทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ. 2558
- พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ
- พ.ร.บ. แก้ไข พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540
- พ.ร.บ. การโฆษณาประชาสัมพันธ์ภาครัฐ
- พ.ร.บ. การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์
- พ.ร.บ. การจัดตั้งศาลทุจริตและการยึดคืนทรัพย์สิน
- พ.ร.บ. คุ้มครองติดตามทรัพย์สินของแผ่นดินคืจากการทุจริต
- พ.ร.บ. สถาบันวิเคราะห์งบประมาณประจำรัฐสภา
- พ.ร.บ. องค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
- พ.ร.บ. แก้ไข พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า
- พ.ร.บ. สมัชชาคุณธรรม
- ผลักดันกฎหมายที่ช่วยสร้างความตื่นตัวทัศนคติและค่านิยมใหม่ในภาคประชาชน
แห่งชาติ(คตช.) กระทรวงการคลังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนการนำมาตรการป้องกันคอร์รัปชันที่ “ปฏิบัติแล้วเป็นผลสำเร็จ” ในต่างประเทศ มาใช้ในการดำเนินโครงการของรัฐ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความโปร่งใส บนความสมัครใจของทั้งภาครัฐ นักธุรกิจเอกชน และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ซึ่งถึงขณะนี้รัฐบาลได้ตกลงให้นำมาใช้ปฏิบัติจริงแล้ว 3 มาตรการ คืิอ
- โครงการข้อตกลงคุณธรรมร่วมมือกับสมาคมวิชาชีพและสมาคมธุรกิจ อาทิ สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทยสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคม ธนาคารไทยหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยเพื่อสรรหาและจัดการสัมมนา “ผู้สังเก
- โครงการเพื่อ ความโปรงใส่ในการสกัดทรัพยากรธรรมชาติ หรือ Extractive Industries Transparency Initiative (EITI) จัดตั้งกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียขึ้นเป็นองค์คณะ EITI ระดับประเทศประกอบไปด้วยตัวแทนของภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาสังคม เพื่อทำหน้าที่วางระบบการเปิดเผยข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะให้เป็นไปตามมาตรฐาน EITIStandard โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกตีพิมพ์ เผยแพร่ในรูปของรายงาน EITI Report ที่ทุกภาคส่วนในสังคมสามารถนำไปใช้ได้อย่างไมเคลือบแคลงใจ
- โครงการเพื่อความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ หรือ Construction Sector Transparency Initiative (CoST) เป็นโครงการที่ริเริ่มโดย World Bank สำหรับ โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ โดยมีแบบแผนของการเปิดเผยข้อมูลที่กระชับ เข้าใจง่ายเป็นประโยชน์และครอบคลุม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมคิดร่วมตรวจสอบของภาคประชาชนอย่างโปร่งใส
ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2558 ถือเป็นการปฏิรูปครั้งใหญ่ที่ปรับระบบราชการและกระบวนการทำงานของราชการได้อย่างดีเยี่ยมกฎหมายฉบับนี้สามารถสร้างประโยชน์กับ ประเทศในหลายด้านทั้งด้านการต่อต้านคอร์รัปชันการส่งเสริมเศรษฐกิจและการลงทุน การลดความเหลื่อมล้ำ การสร้างความเป็นธรรม และลดการใช้อำนาจหน้าที่อย่างไร้คุณธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐที่ผ่านมาองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ได้ร่วมสนับสนุนโครงการ ‘สังคายนากฎหมาย’ (Regulatory Guillotine) อันเป็นความพยายามในการแก้ปัญหาคอร์รัปชันเชิงโครงสร้าง ผลักดันให้เกิดการยกเลิกกฎหมายบางส่วน (จากที่เคยมีประมาณหนึ่งแสนฉบับ) ให้เหลือแต่กฎหมายที่ “ง่าย ชัดเจน ไม่เป็นภาระ และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย” เชื่อว่าโครงการนี้จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของรัฐในการให้บริการประชาชนได้ตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ.อำนวยความสะดวก และ พ.ร.ฎ. การทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย ที่ต้องการอำนวยความสะดวก ลดภาระให้กับประชาชน และลดปัจจัยเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดคอร์รัปชันในท้ายที่สุด
ทำหน้าที่่สมือนหมาเฝาบ้านสอดส่องดูแลให้เกิดการคอรร์ปัชน์น้อยที่สุด รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือหรือกระบวนการที่จะลดโอกาสของการโกงกิน
แถลงการณ์คัดค้านล้างผิดคดีโกง
จัดแถลงข่าว 15 คดี ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน
ร่วมมือกับภาคีภาคประชาชนและสื่อมวลชนเพื่อทวงถามและติดตามความคืบหน้าของคดีสำคัญจากองค์กรภาครัฐเพราะจากการเฝ้าติดตาม พบว่าคดีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคอร์รัปชันมักใช้เวลาในขั้นตอน ต่างๆ ยาวนานมาก เป็นความล่าช้าที่ทำให้คนโกงไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ทั้งนี้องค์กรฯ ได้แบ่งกลุ่มคดีออกเป็น 4 กลุ่มหลัก คือ
- คดีที่รอคำอธิบาย ได้แก่ ไมโครโฟนทองคำ, ป้ายโฆษณาบนป้อมจราจร, สนามฟุตซอล,โกงลำใย, คดีคลองด่าน, คดี CTX และคดีรถหร
- คดีที่คาราคาซังคาใจ ได้แก่ ทุจริตจำนำข้าว, ผู้ว่า ททท. (นางจุฑามาศ ศิริวรรณ), ปลัดคมนาคม (นายสุพจน์ทรัพย์ล้อม), ทุจริตก่อสร้างโรงพักทั่วประเทศ และโครงการไทยเข้มแข็ง
- คดีที่รออัยการ ได้แก่ อดีตนายกยิ่งลักษณ์ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ฐานปล่อยให้เกิดการทุจริตในโครงการจำนำข้าว
- คดีที่ต้องไม่กระพริบตา ได้แก่ คดีไร่ส้ม (นายสรยุทธสุทัศนะจินดา), พล.ต.ท. พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ (ผบช.สอบสวนกลาง) และกรณีจดหมายน้อยของเลขาธิการศาลปกครองู
โครงการพิพิธภัณฑ์กลโกงชาติ
ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ในการนำข้อมูลมาจัดทำพิพิธภัณฑ์เพื่อเปิดโปงกลโกงที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาตทำให้ประชาชนมองเห็นเส้นทางกลโกงในคดีต่างๆ 10 คดี รวมทั้งจัดทำเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์กลโกงชาติให้ผู้คนได้เข้าไปศึกษาข้อมูลคดีต่างๆ และสามารถแชร์ต่อให้ผู้อื่นเพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง นอกจากนั้น ยังมี การจัดทำภาพยนตร์โฆษณาและอินโฟกราฟิก เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์กลโกงชาติทั้งในรูปแบบภาพนิ่งและวิดีโอด้วยสนับสนุน การพัฒนาศักยภาพการทำข่าวเชิงสืบสวน
ให้การสนับสนุนสถาบันอิศรา เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนทั้งในด้านการอบรม การประกวดข่าว ฯลฯ โดยมุ่งหวังให้การทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน(Investigative Journalism)มีคุณภาพสูงขึ้น เป็นที่นิยมมากขึ้นและเป็นวิชาชีพที่สามารถยืนหยัดในสังคมได้อย่างสง่างามข้อเสนอมาตรการกำจัดคอร์รัปชั่น
ข้อเสนอมาตรการกำจัดคอร์รัปชัน
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ปรารถนาที่จะเห็นประเทศไทย พัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและเต็มศักยภาพเป็นสังคมที่ปลอดจากการทุจริตคอร์รัปชันด้วยมาตรการสำคัญใน 5 ด้าน คือ
ปฏิรูปกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม
ปัญหา
มีการใช้เส้นสายและอำนาจเพื่อปกปิดความผิด ดำเนินการทางกฎหมายล่าช้ากฎหมายไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนกลัวความเดือดร้อนจากการแจ้งเบาะแส
ปฏิรูป
กำหนดบทลงโทษให้รุนแรง บังคับใช้กฎหมาย อย่างจริงจังและรวดเร็ว ปกป้องผู้แจ้งเบาะแส เปลี่ยนแปลงกฎระเบียบเพื่อป้องกันการรับสินบนและคอร์รัปชัน
การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ปัญหา
มีการปกปิดและบิดเบือนข้อมูลสู่สาธารณะ ประชาชนไม่มีสิทธิ์ออกความคิดเห็น โครงการรัฐไม่ไตร่ตรองความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
ปฏิรูป
สร้างความตระหนักและตื่นตัวจากภาคสังคม ส่งเสริมให้เสียงของประชาชนมีความเข้มแข็ง ขยายเครือข่ายภาคประชาชนให้มีพลังยิ่งขึ้น
การรณรงค์เรื่อง คุณธรรมและจริยธรรม
ปัญหา
หลากทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการคดโกง เช่นโกงนิดโกงหน่อยไม่เป็นไร การโกงเป็นเรื่องธรรมดาไม่น่าอับอาย ถ้าผู้ใหญ่โกงได้ เด็กก็โกงด้วย (ระบบตามน้ำ)
ปฏิรูป
ส่งเสริมสำนึกผิดชอบชั่วดี ปลูกฝังค่านิยมแบบพอเพียง สร้างวัฒนธรรมใหม่ให้สาธารณชนรู้เท่าทันการโกงรูปแบบต่างๆ
มาตรฐานความโปร่งใส ตามหลักสากล
ปัญหา
กฎระเบียบรัฐมีความยุ่งยาก นำไปสู่ความผิดพลาดในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง เปิดช่องให้เอื้อประโยชน์ต่อคนบางกลุ่ม
ปฏิรูป
ผลักดันการสร้างกฎระเบียบและโครงการข้อตกลงคุณธรรมให้มีผลบังคับใช้เร็วขึ้น เพิ่มอำนาจการตรวจสอบและการเข้าถึงข้อมูลจากภาคสังคม
ความเข้มแข็งของหน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชัน
ปัญหา
คนทำงานถูกคุกคาม คดีคอร์รัปชันมีมากจนทำไม่ทันบกพร่องเรื่องความโปร่งใส และขาดประสิทธิภาพ
ปฏิรูป
เพิ่มขอบเขตอำนาจและพัฒนากลไกให้คนทำงานได้เร็วขึ้น สร้างความเข้มแข็งทั้งในด้านงบประมาณและบุคลากร
ผลงานที่โดดเด่นและกิจกรรมองค์กร
- ปี 2560 "โครงการร้อยพลังต่อต้านคอร์รัปชัน" (ACTIVE CITIZEN)
- ปี 2560 "งาน Good Society Expo เทศกาลทำดีหวังผล"
- ปี 2560 “คุยเรื่องโกงผ่านหนัง”
- ปี 2560 "ร่วมเขียนกฎหมายต้านโกง ให้ถูกใจคนไทย”
- ปี 2560 “ติดตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์”
- ปี 2560 “ใบอนุญาตก่อสร้าง: ความสะดวกที่ต้องจ่าย...จริงหรือ?"
- ปี 2560 "โครงการค่ายเยาวชนไทย ไร้คอร์รัปชัน YOUTH 2020"
- ปี 2560 "โครงการสร้างความร่วมมือต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันภาคประชาชน"
- ปี 2560 "โครงการสร้างความโปร่งใสในการก่อสร้างขนาดใหญ่ภาครัฐ"
- ปี 2560 "โครงการข้อตกลงคุณธรรม"