ภาคีของเรา
การทำงานต่อต้านการโกงนั้นเป็นงานที่ใหญ่และหนักสาหัสไม่สามารถที่จะทำให้สำเร็จลุล่วงได้เพียงลำพัง จำเป็นต้องมีสมาชิกร่วมแรงร่วมใจจึงจะสร้างแรงกระเพื่อมในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพปัจจุบันองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) มีองค์กรสมาชิกที่มีหัวใจเดียวกันรวม แล้วกว่า 50 องค์กร ดังต่อไปนี้
- หอการค้าไทย
- สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
- หอการค้าต่างประเทศ
- สมาคมธนาคารไทย
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย
- สภาธุรกิจตลาดทุนไทย
- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
- สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย
- มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด
- สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์
- สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย
- ภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของชาติ
- โครงการฑูตความดีแห่งประเทศไทย
- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ
- สมาคมคณะกงสุลกิตติมศักดิ์ แห่งประเทศไทย
- สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
- สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
- สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย
- สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย
- หอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย
- สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์
- สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
- สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส.ต.ง.)
- องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย
- สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
- มูลนิธิ “เพื่อคนไทย”
- คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ
- สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
- สมาคมผู้ผลิตน้ำตาลและชีวพลังงานไทย
- สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)
- สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
- โครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
- มหาวิทยาลัย รังสิต
- สภาการเหมืองแร่
- มูลนิธิเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- สภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (สอ.ยด.)
- สถาบันพระจอมเกล้า ธนบุรี
- สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
- สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเลคทรอนิคไทย
- สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเลคทรอนิกส์ และโทรคมนาคมไทย
- มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (มสท.)
- สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย
- กระทรวงพาณิชย์
- สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- มูลนิธิส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ความร่วมมือกับภาคี
เพื่อให้ภารกิจในการต่อต้านการคอร์รัปชันลุล่วงตามเป้าหมาย องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้ปฏิบัติงานร่วมกับภาคีและเครือข่ายทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ ดังนี้
ภาคีภาครัฐ
คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.)และศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ(ศอตช.)
ในการเสนอคดีทุจริตให้กับศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ร่วมมือกับรัฐบาลผ่านบทบาทการเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.)และในศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ(ศอตช.) ทำหน้าที่เสนอคดีทุจริตให้ ศอตช.พิจารณาเร่งรัดและแถลงความคืบหน้าการดำเนินคดีที่ประชาชนสนใจให้ทราบเป็นระยะโดยได้เปิดเว็บไซต์รวบรวมคดีต่างๆ ให้ประชาชนติดตามความคืบหน้าได้ตลอดเวลา นำไปสู่การ เร่งรัดคดีและการใช้กฎหมายมาตรา 44 เพื่อปลดเจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ระหว่างการสอบสวนดำเนินคดีทุจริตให้พ้นจากตำแหน่งด้วยการโยกย้ายและพักปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งในการดำเนินงานดังกล่าวมีการร่วมมือกันจากหลายภาคส่วน ได้แก่
- ปลัดกระทรวงยุติธรรม
- อัยการสูงสุด
- ประธานกรรมการติดตามการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
- เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
- เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
- เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
- ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
- เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ง.
- อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
- ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ผู้แทนภาคเอกชน (คุณประมนต์ สุธิวงศ์)
- ประธานองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย ผู้แทนภาคประชาสังคม (รศ.จุรี วิจิตรวาทการ)
- เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นเลขานุการฯ
- ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ท. (2 คน) เป็นผู้ช่วยเลขานุการฯ
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)
ร่วมมือกับ ป.ป.ช.และ ป.ป.ท.ในการนำข้อมูลมาจัดทำพิพิธภัณฑ์กลโกงชาติ เพื่อเปิดโปงกลโกงที่สร้างความเสียหายให้แก่ ประเทศชาติ อันเป็นภารกิจหลักตามยุทธศาสตร์3 ป.ในส่วนของการเปิดโปงนอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานจากภาครัฐอื่นๆ ในการดำเนินโครงการต่างๆ อาทิ
โครงการข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และกรุงเทพมหานคร
โครงการแก้ปัญหาการขอใบอนญุาต รง.4 รว่ มกบักระทรวงอุตสาหกรรม
โครงการฮั้วกันไม่โกงและใบอนุญาตยิ้ม ร่วมกับกรุงเทพมหานคร
ภาคีภาคเอกชน
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ร่วมมือกับภาคเอกชนในการป้องกันการคอร์รัปชันผ่านโครงการต่างๆ ดังนี้
โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต
(Thailand’s Private SectorCollective Action Coalition Against Corruption= CAC)
“แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านคอร์รัปชัน” (Collective Action Against Corruption – CAC)เป็นการรวมตัวของธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อแก้ไขและป้องกันมิให้เกิดคอร์รัปชันในสังคมไทย สมาชิกที่เข้าร่วมต้องประกาศนโยบายต่อต้านการ ทุจริตทุกรูปแบบและจัดทำระบบป้องการจ่ายสินบน รวมทั้งให้ความมือสนับสนุนการสร้างมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี บนพื้นฐานของหลักบรรษัทภิบาล (Corporate Governance) และความรับผิดชอบต่อสังคม(Social Responsibility) การรวมตัวอย่างเหนียวแน่นและลงมือ ปฏิบัติอย่างจริงจังของสมาชิก CAC ตามที่ได้ร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์ไว้จะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจการค้า และการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลของสังคมไทยต่อไป
โครงการความร่วมมือ กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) และองค์กรด้านตลาดทุนอื่นๆ
ร่วมมือกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ในการขับเคลื่อนให้ธุรกิจเอกชนมีบทบาทในการแก้ปัญหาการคอร์รัปชัน อย่างจริงจัง
ภาคีภาคการศึกษา
นอกจากนี้ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษา ว่าจะเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันได้ในระยะยาว จึงได้ร่วมมือกับองค์กรภาคการศึกษาในการปลูกฝังทัศนคติให้เยาวชนตามยุทธศาสตร์3 ป. ดังต่อไปนี้
พัฒนาหลักสูตร ‘โตไปไม่โกง’ เพื่อบรรจุในการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษาทั่วประเทศ (ดำเนินการโดย องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย)
ร่วมมือกับภาครัฐผ่านบทบาทการเป็นคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.)
โครงการบัณฑิตไทยไมโ่กง และการจัดตั้งศูนย์ต่อต้านคอร์รัปชัน (ดำเนินการโดย ทปอ.)
สนับสนุนที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัย (ทปอ.) เพื่อดำเนินโครงการปลูกฝังค่านิยม “ไม่ยอมรับการคอร์รัปชัน’อย่างต่อเนื่องในสถาบันการศึกษา”
ภาคีองค์กรระหว่างประเทศ
United Nations Development Programme UNDP
UNDP มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีTrue Coffee และองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)ได้ร่วมมือกันผนึกกำลังสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม ร้านกาแฟคอรัป “ฉัน” ไม่ขอรับ โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้การบริหารธุรกิจร้านกาแฟจากมืออาชีพ พร้อมมีส่วนร่วมกับองค์การสหประชาชาติ และองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน(ประเทศไทย) ในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่านิยมเปลี่ยนแปลงตนเอง เปลี่ยนแปลงสังคม และเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ปลอดคอร์รัปชัน โดยผลกำไรที่ได้รับจากธุรกิจนี้จะนำไปสนับสนุนกิจกรรมต้าน คอร์รัปชันของนักศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคต นอกจากนั้น ร้านกาแฟนี้ยังถือเป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชัน เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มีพื้นที่ในการพูดคุยสนทนา แลกเปลี่ยนความคิด และวางแผนกิจกรรมรณรงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชันทั้งในระดับมหาวิทยาลัย ระดับชุมชน และระดับประเทศ
Foreign Chamber of Commerce
เป็นภาคีกับหอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 บนความร่วมมือของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย โดยเข้าเป็นสมาชิกของหอการค้านานาชาติ (ICC) มีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ภาคธุรกิจไทยมีบทบาทโดยตรงในการร่วมกำหนดนโยบายทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก