ผลงานที่โดดเด่นและกิจกรรมองค์กร
- ปี 2560 "โครงการร้อยพลังต่อต้านคอร์รัปชัน" (ACTIVE CITIZEN)
- ปี 2560 "งาน Good Society Expo เทศกาลทำดีหวังผล"
- ปี 2560 “คุยเรื่องโกงผ่านหนัง”
- ปี 2560 "ร่วมเขียนกฎหมายต้านโกง ให้ถูกใจคนไทย”
- ปี 2560 “ติดตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์”
- ปี 2560 “ใบอนุญาตก่อสร้าง: ความสะดวกที่ต้องจ่าย...จริงหรือ?"
- ปี 2560 "โครงการค่ายเยาวชนไทย ไร้คอร์รัปชัน YOUTH 2020"
- ปี 2560 "โครงการสร้างความร่วมมือต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันภาคประชาชน"
- ปี 2560 "โครงการสร้างความโปร่งใสในการก่อสร้างขนาดใหญ่ภาครัฐ"
- ปี 2560 "โครงการข้อตกลงคุณธรรม"
- 6 กันยายน...วันต่อต้านคอร์รัปชันแห่งชาติ
- ปี 2556 “ACT NOW ร่วมกันสู้ กอบกู้อนาคต”
- ปี 2558 “ACTIVE CITIZEN ปลุกสำนึกไทยต้านภัยคอร์รัปชัน”
- ค่ายเยาวชนไทยไร้คอร์รัปชัน Youth 2020
- พ.ร.บ. อำนวยความสะดวก
- ปี 2555 “รวมพลังเปลี่ยนประเทศไทย”
- ปี 2557 “HAND IN HAND ปฏิรูปการต่อสู้เพื่อชัยชนะอย่างยั่งยืน”
- หมาเฝ้าบ้าน
ค่ายเยาวชนไทยไร้คอร์รัปชัน Youth 2020
สัญญาณอันตรายรุนแรงประการหนึ่งเกี่ยวกับปัญหาคอร์รัปชันในประเทศไทยคือ ผลสำรวจจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่ระบุว่า ประชาชนถึงร้อยละ 75 หากพบเห็นการคอร์รัปชันแล้วจะ “นิ่งเฉยไม่ทำ อะไร” เพราะเห็นว่า “ไม่เกี่ยวกับตัวเอง” วิกฤตทางเจตคติดังกล่าวนี้ทำให้องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) คิดทำโครงการค่ายเยาวชนไทยไร้คอร์รัปชัน Youth 2020 ขึ้น เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและพัฒนาจิตสำนึกในการต่อต้านคอร์รัปชันแก่เด็กและเยาวชนโดยมุ่งเน้นการเรียนรู้คุณค่าหลัก 6 ประการคือ
- ความซื่อสัตย์สุจริต (Honesty)
- การเป็นอยู่อย่างพอเพียง (Sufficiency)
- การมีจิตสาธารณะ (Public Mind)
- การเรียนรู้ภาวะผู้นำ(Leadership)
- ความเป็นธรรมทางสังคม (Fairness)
- การปฏิเสธการคอร์รัปชัน (Anti-Corruption)
ค่ายเยาวชนนี้เป็นกิจกรรมแบบบูรณาการ อบรมนิสิตนักศึกษามาแล้วเป็นจำนวน 6 รุ่น รวมกว่า 300 คนจากสถาบันการศึกษา 50 แห่ง (ตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2557 ถึงปัจจุบัน) โดยมีครูอาจารย์และบุคลากรของสถาบันเข้าร่วมด้วย เมื่อจบค่ายฯ ตัวแทนเยาวชนเหล่านี้ได้นำโครงงานที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการโครงการฯ ไปทำกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัยเพื่อนำความรู้ไปขยายผลและจัดกิจกรรมต่อยอด พร้อมทั้งจัดตั้งชมรมส่งเสริมการต่อต้านการคอร์รัปชันและสร้างกลุ่มเครือข่ายแกนนำนักศึกษาตามแต่ละบริบทของสถาบันนับเป็นการดำเนินการในมิติของการ “ปลูกฝัง” และ “ป้องกัน” ตามยุทธศาสตร์ 3 ป. นั่นเอง