ประเด็นร้อน
ผลงานรัฐบาล และ คสช. ในการแก้ปัญหาคอร์รัปชันของประเทศ
โดย ACT โพสเมื่อ Feb 19,2018
กฎหมาย
1. พ.ร.บ. อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาต
2. พ.ร.ฎ. การทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย,
3. จัดตั้งศาลคอร์รัปชัน
4. พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างฯ
5. คำสั่ง คสช. 69/2557
6. คำสั่ง คสช. ที่ 21/2560 (เรื่อง ห้ามหน่วยราชการเรียกสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สูติบัตร และสำเนาเอกสารราชการอื่นๆ จากประชาชนที่มาติดต่อขอรับบริการ)
7. รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง
ใช้อำนาจพิเศษ ม. 44 เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาที่สะสม ติดขัด มีอุปสรรค/ข้อจำกัด
1. ตั้ง คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) โดยรวมเอาภาคประชาชนและนักวิชาการเข้ามาร่วมคิดร่วมทำงาน
2. โยกย้าย พักงาน ปลดข้าราชการและนักการเมือง
ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร
1. ตั้ง ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) และตั้ง คณะกรรมการ ศอตช.
2. คณะกรรมการบูรณาการงบประมาณและการทำงานด้านการต่อต้านการทุจริต
3. ตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.)
4. ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการใช้งบประมาณภาครัฐ (ยุบแล้ว)
5. ขยายบทบาทและศักยภาพของ สนง. รัฐบาลอิเลคโทรนิคส์ เช่น จัดทำเว็บไซต์ ภาษีไปไหน
6. ตั้งซูเปอร์บอร์ดจัดซื้อจัดจ้าง
กำหนดนโยบาย ที่เป็นการริเริ่มในสิ่งใหม่ๆ
1. กำหนดให้มีการเรียนการสอนหลักสูตร “โตไปไม่โกง” ในชั้นเรียนชั้นประถมต้นทั่วประเทศ
2. เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของราชการให้เปิดเผย โปร่งใส โดยการมีส่วนร่วมเสนอแนะและตรวจสอบโดยประชาชน ผ่านมาตราการหรือโครงการ ได้แก่
2.1 ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)
2.2 การสร้างความโปร่งใสในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ (CoST)
2.3 การสร้างความโปร่งใสในการสกัดทรัพยากรธรรมชาติ (EITI) และ
2.4 โครงการรัฐบาลโปร่งใส โดยการเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายสากล ที่เรียกว่า Open Government Partnership (OGP)
3. เพิ่มศักยภาพและยกระดับ สำนักงาน ป.ป.ท.
4. เพิ่มศักยภาพให้ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตประจำกระทรวง (ศอปท.)
5. จัดสรรงบประมาณเพื่อการรณรงค์ตามยุทธศาสตร์ “คนไทยไม่โกง” อย่างต่อเนื่อง
6. เพิ่มบุคลากรและงบประมาณ ให้ ป.ป.ช. จำนวนมาก
รวบรวมโดย : ดร. มานะ นิมิตรงคล
เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
#ACTองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน