ประเด็นร้อน
ผลประโยชน์ทับซ้อน
โดย ACT โพสเมื่อ Nov 08,2017
- - สำนักข่าวไทยโพสต์ - -
เรื่องผลทับซ้อน หรือ (conflict of interest) กลายมาเป็นประเด็นอีกครั้ง โดยกลับมาเกิดขึ้นกับบุคคลสำคัญในแม่น้ำ 4 สายของ คสช. ท้าทายจริยธรรมของผู้ที่อาสาเข้ามาปฏิรูปประเทศหลังเหตุการณ์รัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
โดยเฉพาะเกิดขึ้นกับคีย์แมนสำคัญ อย่างนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และดำรงตำแหน่งใน คสช. ที่มีบทบาทร่างกฎหมายสำคัญ อาทิ รัฐธรรมนูญ 60 หรือ รัฐธรรมนูญปราบโกง ร่วมทั้งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญอีก 10 ฉบับ กระทำเรื่องอื้อฉาวด้วยการแต่งตั้งบุตรสาว ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการประจำตัวของผู้ดำรงตำแหน่งใน คสช. ของตัวเอง และได้รับเงินค่าตอบแทน เดือนละ 47,500 บาท
ถัดมายังเกิดประเด็นท้าทายจริยธรรมซ้ำ โดยที่ประชุม สนช. ได้แต่งตั้งบุคคลที่มีส่วนได้เสียไปนั่งในคณะกรรมการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. .. อาทิ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ และ พล.ต.ท.บุญเรือง ผลพานิชย์ สนช. ที่ขณะนี้กำลังถูกไต่สวนกรณีร่ำรวยผิดปกติ จาก ป.ป.ช. หรือ แม้กระทั่ง พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. และ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. ที่หมิ่นเหม่ต่อการดำรงตำแหน่งต่อไป เพราะคุณสมบัติไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับที่กำลังยกร่างอยู่กำหนดไว้
ดังนั้นจึงถือโอกาสนำเสนอ บทความ เรื่อง ผลประโยชน์ทับซ้อน หรือ (conflict of interest)ที่เขียน น.ส.นิลุบล สุขประเสริฐ นิติกรชำนาญการ กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) นำเสนอให้ทุกคนรับทราบ และป้องกันคนรุ่นใหม่นำไปเป็นเยี่ยงต่อไป โดยมีเนื้อหาสาระดังนี้ ...
ผลประโยชน์ทับซ้อน คือ สถานการณ์ที่บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งอันเป็นที่ไว้วางใจ ( เช่น ทนายความ นักการเมือง ผู้บริหาร หรือ ผู้อำนวยการของบริษัทเอกชน หรือ หน่วยงานรัฐ) เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างผลประโยชน์ ส่วนตัวกับผลประโยชน์ทางวิชาชีพ (professional interests) อันส่งผลให้เกิดปัญหาที่เขาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นกลาง / ไม่ลำเอียงผลประโยชน์ทับซ้อนที่เกิดขึ้น อาจส่งผลให้เกิดความไม่ไว้วางใจที่มีต่อบุคคลผู้นั้น ว่าเขาจะสามารถปฏิบัติงานตามตำแหน่งให้อยู่ในครรลองของคุณธรรมจริยธรรมได้มากน้อยเพียงใด
ภาษาไทยใช้อยู่ 3 อย่าง คือ
1.ความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประ โยชน์ส่วนรวม
2.ผลประโยชน์ทับซ้อน
3.ผลประโยชน์ขัดกัน
ผลประโยชน์ทับซ้อน ความหมายของ สำนักงาน ก.พ. สถานการณ์หรือการกระทำของบุคคล (ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ข้าราชการ พนักงานบริษัท ผู้บริหาร) มีผลประโยชน์ ส่วนตนเข้ามาเกี่ยวข้อง จนส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจหรือการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้น การกระทำ ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวทั้งเจตนาหรือไม่เจตนา หรือ บางเรื่อง เป็นการปฏิบัติสืบต่อกันมา
จนไม่เห็นว่าจะเป็นสิ่งผิดแต่อย่างใดพฤติกรรมเหล่านี้เป็นการกระทำความผิดทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะ (ประโยชน์ ของส่วนรวม) แต่กลับตัดสินใจปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงประโยชน์ของตนเองหรือพวกพ้อง
แนวคิดของวิชาการ ให้ความหมายของผลประโยชน์ทับซ้อนไว้ 4 ประการ ดังนี้
1.ความหมายอย่างกว้างหมายรวมถึงการปฏิบัติงานตาม ตำแหน่งหน้าที่ที่รับผิดชอบอย่างต่อหน่วยงานหรือองค์การหรือต่อส่วนรวมแต่ดำเนินการตัดสินใจปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเอง ครอบครัว และเพื่อนฝูง
2.ผลประโยชน์ทับซ้อนสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในหน่วยงาน ภาครัฐ องค์กรธุรกิจ สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรวิชาชีพต่างๆ โดยสมารถเกิดขึ้นได้ทั้งในระดับนโยบายของชาติ หน่วยงานราชการ และองค์กรในระดับท้องถิ่น ดังนั้น ผลประโยชน์ทับซ้อนจึงมีมูลค่าความเสียหายตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทไปจนถึงนับหมื่นล้านบาท และในบางกรณีความเสียหายมิได้ปรากฏออกมาในรูปของที่เป็นวัตถุ แต่ยังรวมถึงผลประโยชน์มิใช่วัตถุอีกด้วย
3.ผลประโยชน์ทับซ้อนมิได้จำกัดเฉพาะผลประโยชน์ของ บุคคลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการมีอคติในการตัดสินใจหรือดำเนินการอันมุ่งตอบสนองต่อผลประโยชน์ของหน่วยงานอีกหน่วยงานหนึ่งด้วย เช่น การที่บุคคลดำรงตำแหน่งซ้อนกันในสองหน่วยงาน อันก่อให้เกิดการทำบทบาทที่ขัดแย้งกัน และมีการใช้อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานหนึ่งไปรับใชผลประโยชน์ของอีกหน่วยงานหนึ่ง
4."การฉ้อราษฎร์บังหลวง" และ "การคอร์รัปชัน เชิงนโยบาย" (Policy Corruption) ต่างก็เป็นรูปแบบหนึ่งของผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจากทั้งสองรูปแบบต่างเป็นการใช้ตำแหน่งหน้าที่สำหรับมุ่งตอบสนอง ต่อผลประโยชน์ส่วนตัวและ / หรือพรรคพวก
สรุป ผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับผลประโยชน์ส่วนรวม ขัดกัน เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ จึงต้องไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามา เกี่ยวข้อง
1.การใช้ตำแหน่งไปดำเนินการเพื่อประโยชน์ ทางธุรกิจของตนเองโดยตรง
2.ใช้ตำแหน่งไปช่วยเหลือญาติสนิทมิตร สหาย
3.การรับผลประโยชน์โดยตรง
4.การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์โดยใช้ตำ แหน่งหน้าที่การงาน
5.การนำทรัพย์สินของหน่วยงานไปใช้สวนตัว
6.การนำข้อมูลอันเป็นความลับของหน่วย งานมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว
7.การทำงานอีกแห่งหนึ่ง ที่ขัดแย้งกับแห่งเดิม
8.ผลประโยชน์ทับซ้อนจากการเปลี่ยนสถานที่ทำงาน
9.การปิดบังความผิด
มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามรัฐธรรมนูญ
1.มาตรการคัดสรรคนดีเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง
2.การกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตในตำแหน่ง
3.การเพิ่มระบบและองค์การตรวจสอบการใช้อำนาจ
4.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต การกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตในตำแหน่ง
- การมีประมวลจริยธรรมและการห้ามผลประโยชน์ขัดกัน
- การให้แสดงบัญชีทรัพย์และหนี้สิน
- การใช้หลักโปร่งใสในการใช้อานาจ
แนวทางการปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(1) หลักนิติธรรม
(2) หลักคุณธรรม
(3) หลักความโปร่งใส
(4) หลักการมีส่วนรวม
(5) หลักความรับผิดชอบ
(6) หลักความคุ้มค่า
#ACTองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน