ประเด็นร้อน
หมาเฝ้าบ้าน ทวงจริยธรรมคนป่า
โดย ACT โพสเมื่อ May 04,2017
วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกคึก คัก 30 องค์กรสื่อรวมพลต้านการควบคุมสื่อ จี้รัฐบาลยับยั้งร่างกฎหมายของ สปท. หวั่นอำนาจรัฐแทรกแซงครอบงำ ปชช. ยันพร้อมกำกับกันเอง วงเสวนาชี้รัฐต้องการให้สื่อเป็นหมาเชื่องๆ เตือนปิดกั้นเสรีสื่อซ้ำรอยพฤษภา 35 พร้อมทวงจริยธรรมคนป่าขู่จับยิงเป้าสื่อ "ประยุทธ์" วอนสร้างความสมดุลในการทำงานกับรัฐบาลเพื่อ ปชช. "วิษณุ" สั่ง จนท.วิเคราะห์ร่าง สปท.เตรียมเชิญตัวแทนสื่อให้ความเห็น
ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่ง ประเทศไทย ถนนสามเสน วันที่ 3 พฤษภา คม ซึ่งเป็นวัน "เสรีภาพสื่อมวลชนโลก" ซึ่งในปีนี้ องค์กรสื่อมวลชนเครือข่ายกว่า 30 องค์กร อาทิ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, สมา คมผู้ผลิตข่าวออนไลน์, สมาคมนักหนังสือ พิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย ร่วมจัดงานดังกล่าวขึ้น พร้อมกับหลายประเทศทั่วโลก
โดยในประเทศไทยมีการจัดงานภายใต้คอนเซ็ปต์สำคัญคือ "หยุดตีทะเบียนสื่อ หยุดครอบงำประชาชน" ด้วยเหตุผลสำคัญ คือ ต้องการรวมพลังต่อสู้กับความพยายามของบางฝ่ายที่มีจุดประสงค์ออกกฎหมายเพื่อคุกคามสิทธิ เสรีภาพสื่อมวลชน กรณีที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและ มาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านที่ประชุม สปท. แล้วจะเข้าสู่วาระการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และส่งต่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อบัญญัติเป็นกฎหมายใช้ต่อไป
ทั้งนี้ บรรยากาศของการจัดงานที่ห้อง ประชุมอิศรา อมันตกุล ของสมาคมนักข่าวฯ เป็นไปด้วยความคึกคัก ห้องประชุมแน่นขนัดด้วยตัวแทนสื่อมวลชนทั้งนักข่าวรุ่นใหม่ และนักข่าวอาวุโสเข้าร่วมงาน รวมถึงมีนัก การทูตจากประเทศฟินแลนด์, ประเทศออส เตรีย, ประเทศสวีเดน, ทูตจากสหภาพยุโรป, ตัวแทนสถานทูตสหรัฐอเมริกาและสถานทูตอังกฤษ ซึ่งประจำอยู่ในประเทศไทยเข้าร่วมงาน
นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ นายกสมา คมนักข่าวฯ อ่านแถลงการณ์ ระบุว่า สถาน การณ์ด้านเสรีภาพสื่อมวลชนไทยอยู่ในภาวะไม่ปกติ ภายใต้ประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหลายฉบับ และกรณีที่ สปท.เห็นชอบกับร่าง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน โดยเปิดทางให้อำนาจรัฐเข้ามาแทรกแซง ควบคุมการทำหน้าที่สื่อมวลชน และปิดกั้น รวมถึงลิดรอนการรับรู้ข่าวสารและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชนและประชาชน
จี้ยับยั้งร่าง กม.คุมสื่อ
องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน 30 องค์กร จึงมีข้อเรียกร้องและข้อเสนอต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1.ให้รัฐบาล ยับยั้งร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิเสรีภาพฯ เพราะเป็นกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชน และขัดกับรัฐธรรมนูญ 2.ให้ยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช. ที่มีเนื้อหาจำกัดสิทธิ เสรีภาพสื่อมวลชน เนื่อง จากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รับรองเสรีภาพการแสดงความเห็นของประชาชนไว้ชัดเจน 3.ให้สื่อมวลชนทุกประเภท ตระหนักถึงการทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ต่อสังคม กรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพโดยเคร่งครัด รวมถึงพร้อมที่จะรับการตรวจสอบจากสังคม
4.ขอให้ประชาชนฐานะผู้บริโภคข่าว สารมีส่วนร่วมในการตรวจสอบควบคุมการ ทำหน้าที่ของสื่อมวลชนให้อยู่ในกรอบจริย ธรรมแห่งวิชาชีพอย่างเข้มข้น และ 5. องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนไม่ขอยอมรับต่อการกระทำของทุกฝ่ายที่ละเมิดต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน และพร้อมจะต่อสู้เรียกร้องจนถึงที่สุด ทั้งนี้ องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนมีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะทำให้กลไกกำกับดูแลกันเองทางด้านจริยธรรมที่มีอยู่แล้ว มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
ต่อมามีการเสวนาหัวข้อ "เสรีภาพสื่อกับอนาคตสังคมไทย" โดยนายมานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ถ้าเราดูปรากฏการณ์ที่มีความเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้กระแสหนึ่งได้สนับสนุนให้สื่อเข้ารูปเข้ารอย ซึ่งมีคนจำนวนไม่น้อยเป็นจุดสำคัญที่คนทำงานสื่อต้องพิจารณาว่า 5-10 ปีที่ผ่านมาได้ทำไปเพื่อสังคมแค่ไหน ปัญหาคือสื่อมวลชนจำนวนไม่น้อยใช้เสรีภาพละเมิดสิทธิคนอื่น หรือใช้เสรีภาพก่อให้เกิดปัญหาในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อทีวี สื่อออนไลน์ ไม่ได้นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนควรรู้ แต่วันนี้มีเทคโนโลยีประชาชนมีสื่อในมือ ถ้าสื่อมวลชนทำอะไรไม่ถูกต้อง ประชาชนอาจจะตั้งคำถาม หรือถูกตำหนิ ทำให้คนจำนวนไม่น้อยขานรับกฎหมายฉบับนี้
นายมานะกล่าวว่า ขณะที่รากฐานของการแก้จริยธรรมสื่อในกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้พูดถึง ส่วนใหญ่จะเป็นการควบคุมเนื้อหา เมื่อรัฐผู้ที่อภิปรายอ้างประชาชนถูกละเมิดสิทธิ แต่ช่วงหลายปีที่ผ่านมารัฐไม่เคยแสดงท่าทีเรื่องนี้ แต่เมื่อไหร่ที่สื่อได้นำเสนอข้อมูลกระทบข้อมูลเสถียรภาพของรัฐ รัฐจะออกมาทันที เพราะรัฐต้องการให้สื่อเป็นเด็กดีว่านอนสอนง่าย ต้องการให้เป็นหมาเชื่องๆ มากกว่า ไม่ใช่หมาเฝ้าบ้าน
ขณะที่นายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวว่า จากการสำรวจของหอการค้าไทย โดยเฉพาะเรื่องการต่อคอร์รัปชันพบว่า 3 ครั้งแรกตั้งแต่รัฐบาลชุดนี้เข้ามา ประชาชนมีความเชื่อมั่นและความหวังว่าสื่อจะช่วยแก้ไขปัญหาประเทศได้ แต่ปีครึ่งที่ผ่านมาประชาชนมีความหวังน้อยลง ความพยายามออกกฎหมายนี้ เรื่องการคอร์รัปชันหลักการแก้ปัญหา ไม่ใช่ไล่จับ แต่ต้องแก้ระยะยาวด้วยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทำลายปัจจัยคอร์รัปชัน การมีกฎหมายแบบนี้ทำให้เกิดการคอร์รัปชันหรือแลกเปลี่ยนผลประโยชน์บางอย่าง ทำให้การนำเสนอข้อมูลไปในทางที่รัฐต้องการ
ปิดกั้นสื่อซ้ำรอย พ.ค.35
"สื่อเสรีนำเสนอข้อมูลหลากหลายไปสู่ประชาชน ทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาสังคม ถ้าเราจะแก้คอร์รัปชันให้ได้ ทุกคนต้องร่วมกันบอกผู้อำนาจในรัฐบาล สิ่งที่อยากเห็นคือ ข่าวสารผ่านสื่อมีคุณภาพรวมถึงในโซเชียลฯ เพื่อให้เกิดการตรวจสอบกันและกัน เพื่อทำให้ประชาชนเกิดความหวังกับการต่อสู้คอร์รัปชัน และทำให้ประชาชนเข้าร่วมปราบปรามและต่อต้านคอร์รัปชัน" นายมานะกล่าว
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กล่าวว่า การที่มีผู้มีอำนาจอภิปรายในสภาว่าจับสื่อไปยิงเป้า อยากถามว่าขัดกับจริยธรรมหรือไม่ ซึ่งคำพูดดังกล่าวเข้าข่ายเฮตสปีชสร้างความเกลียดชัง ร่างกฎหมายดังกล่าวมีชื่อไม่ตรงกับหลักการ ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการขยายอำนาจรัฐ ลดอำนาจประชาชน กับสถานการณ์ที่ขณะนี้ไม่มีฝ่ายค้านในสภาทำหน้าที่ตรวจสอบ ดังนั้นจึงมีเพียงสื่อทำหน้าที่รายงานข้อเท็จจริง
"ตอนนี้รัฐสกัดอำนาจฝ่ายค้านไม่มี พรรคการเมืองอ่อนแอ กฎหมายเข้มงวด ทำให้ไม่สามารถทำอะไรได้ อำนาจสุดท้ายถ่วงดุลรัฐ คือสื่อมวลชนและออนไลน์จนทำให้ผู้มีอำนาจรัฐไม่วางใจ จำเป็นต้องมีเครื่องมือเข้ามา และคำว่าเสรีภาพกับความรับผิดชอบเป็นของมาคู่กัน ถ้าเมื่อไหร่สื่อไม่มีเสรีภาพความรับผิดชอบก็จะไม่เกิด ต้องกลับมาตั้งหลักด้วยการเพิ่มความรับผิดชอบมากขึ้น แต่ไม่ใช่ลิดรอนเสรีภาพ จึงอยากเสนอ สปท.คุ้มครองผู้เสียหายโดยใช้หลักนิติธรรม รัฐช่วยประชาชนฟ้องง่ายกว่า และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนกับสื่อเองก็รับได้ ถ้ารัฐใช้ทางลัดปัญหาไม่สิ้นสุด และเดือนนี้จะครบ 25 ปี เหตุการณ์ปี 35 พฤษภา ซึ่งจากบทเรียนในอดีต รัฐคงไม่อยากซ้ำรอย ควรให้เสรีภาพกับสื่อ" นาง สาวสุภิญญากล่าว
ขณะที่นางอังคณา นีละไพจิตร กรรม การสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า สื่อเป็นส่วนหนึ่งทำให้ประชาชนถึงข้อมูลข่าวสาร และตรวจสอบการใช้อำนาจและการใช้งบประมาณของรัฐ จึงอยากให้รัฐบาลกลับไปดูข้อเสนอในการให้สิทธิเสรีภาพกับสื่อ ซึ่งสื่อก็ต้องมีความรับผิดชอบด้วย เราต้องยอมรับว่าสิ่งที่สื่อเป็นมันสะท้อนว่ารัฐบาลควรจะสร้างประชาชนให้เป็นพลเมืองมีหน้าที่เคารพสิทธิของผู้อื่นมากกว่าใช้วิธีการไปจำกัดเสรีภาพสื่อ ขณะเดียวกันก็ไม่รู้วิธีคิดที่ต้องการให้กรรมการสิทธิฯ เข้าไปเป็นกรรมการในสภาวิชาชีพ แล้วกรรมการสิทธิจะอยู่ในสถานะเป็นกลางได้อย่างไร นอกจากนี้ ประชาชนก็พึ่งพาสื่อเพื่อให้เกิดการผลักดันสาธารณะ เมื่อการละเมิดสิทธิได้เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ
ส่วนนายสมชาย แสวงการ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่า นักการเมือง ตำรวจ สื่อมวลชน คือกลุ่มที่ประชาชนต้องการให้ปฏิรูป ตนไม่เห็นด้วยกับร่างของ สปท. แต่สนับสนุนให้มีร่างวิชาชีพของสื่อที่สื่อเข้าไปยกร่างด้วยตัวเอง ความคาดหวังว่ากรณีสื่อเทียม สื่อเสี้ยมที่เข้ามาจำนวนมากจะหมดไป กฎหมายจะต้องส่งเสริมไม่ใช่ควบคุมสิทธิเสรีภาพ ซึ่งจากนี้ยังมีหลายขั้นตอน ส่วนการควบคุมกันเองจะทำอย่างไร แต่ที่ผ่านมายังไปไม่ได้ จึงควรมีสภาวิชาชีพเกิดขึ้น เพื่อสร้างหลักประกันให้กับสื่อด้วย
ขณะที่นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธาน สปท. ซึ่งเดินทางมาร่วมกิจกรรมได้กล่าวว่า วันนี้มาเป็นกำลังใจ อยากยืนยันว่าร่างกฎหมายที่ออกจาก สปท. จะไม่มีการตีทะเบียนสื่อเด็ดขาด หากจะมีตัวแทนรัฐไม่เกิน 2 จาก 15 คนนั้น ต้องเป็นตัวแทนที่ทำงานส่งเสริมวิชาชีพ ซึ่งหลักของ สปท.ยึดจากสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน เป็นหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชน สังคมใดถูกปิดกั้นจะถูกคอร์รัปชัน จะเป็นสังคมแห่งการมืดบอด ไม่ว่าจะเป็นในยุคไหนต้องมีการตรวจสอบ ส่วนสื่อเลือกข้างไม่ควรมีอีกแล้ว ต้องฝักใฝ่แค่ประชาชนและประโยชน์ของประเทศชาติเท่านั้น ถ้ามีการตีทะเบียนสื่อเกิดขึ้นไม่ว่าช่วงไหน ตนจะลาออกจาก สปท.ทันที
คำว่าเสรีภาพกับความรับผิดชอบเป็นของมาคู่กัน ถ้าเมื่อไหร่สื่อไม่มีเสรีภาพความรับผิดชอบก็จะไม่เกิด ต้องกลับมาตั้งหลักด้วยการเพิ่มความรับผิดชอบมากขึ้น แต่ไม่ใช่ลิดรอนเสรีภาพ จึงอยากเสนอ สปท.คุ้มครองผู้เสียหายโดยใช้หลักนิติธรรม รัฐช่วยประชาชนฟ้องง่ายกว่า และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนกับสื่อเองก็รับได้ ถ้ารัฐใช้ทางลัดปัญหาไม่สิ้นสุด และเดือนนี้จะครบ 25 ปี เหตุการณ์ปี 35 พฤษภา ซึ่งจากบทเรียนในอดีต รัฐคงไม่อยากซ้ำรอย ควรให้เสรีภาพกับสื่อ" นาง สาวสุภิญญากล่าว
ขณะที่นางอังคณา นีละไพจิตร กรรม การสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า สื่อเป็นส่วนหนึ่งทำให้ประชาชนถึงข้อมูลข่าวสาร และตรวจสอบการใช้อำนาจและการใช้งบประมาณของรัฐ จึงอยากให้รัฐบาลกลับไปดูข้อเสนอในการให้สิทธิเสรีภาพกับสื่อ ซึ่งสื่อก็ต้องมีความรับผิดชอบด้วย เราต้องยอมรับว่าสิ่งที่สื่อเป็นมันสะท้อนว่ารัฐบาลควรจะสร้างประชาชนให้เป็นพลเมืองมีหน้าที่เคารพสิทธิของผู้อื่นมากกว่าใช้วิธีการไปจำกัดเสรีภาพสื่อ ขณะเดียวกันก็ไม่รู้วิธีคิดที่ต้องการให้กรรมการสิทธิฯ เข้าไปเป็นกรรมการในสภาวิชาชีพ แล้วกรรมการสิทธิจะอยู่ในสถานะเป็นกลางได้อย่างไร นอกจากนี้ ประชาชนก็พึ่งพาสื่อเพื่อให้เกิดการผลักดันสาธารณะ เมื่อการละเมิดสิทธิได้เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ
ส่วนนายสมชาย แสวงการ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่า นักการเมือง ตำรวจ สื่อมวลชน คือกลุ่มที่ประชาชนต้องการให้ปฏิรูป ตนไม่เห็นด้วยกับร่างของ สปท. แต่สนับสนุนให้มีร่างวิชาชีพของสื่อที่สื่อเข้าไปยกร่างด้วยตัวเอง ความคาดหวังว่ากรณีสื่อเทียม สื่อเสี้ยมที่เข้ามาจำนวนมากจะหมดไป กฎหมายจะต้องส่งเสริมไม่ใช่ควบคุมสิทธิเสรีภาพ ซึ่งจากนี้ยังมีหลายขั้นตอน ส่วนการควบคุมกันเองจะทำอย่างไร แต่ที่ผ่านมายังไปไม่ได้ จึงควรมีสภาวิชาชีพเกิดขึ้น เพื่อสร้างหลักประกันให้กับสื่อด้วย
ขณะที่นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธาน สปท. ซึ่งเดินทางมาร่วมกิจกรรมได้กล่าวว่า วันนี้มาเป็นกำลังใจ อยากยืนยันว่าร่างกฎหมายที่ออกจาก สปท. จะไม่มีการตีทะเบียนสื่อเด็ดขาด หากจะมีตัวแทนรัฐไม่เกิน 2 จาก 15 คนนั้น ต้องเป็นตัวแทนที่ทำงานส่งเสริมวิชาชีพ ซึ่งหลักของ สปท.ยึดจากสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน เป็นหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชน สังคมใดถูกปิดกั้นจะถูกคอร์รัปชัน จะเป็นสังคมแห่งการมืดบอด ไม่ว่าจะเป็นในยุคไหนต้องมีการตรวจสอบ ส่วนสื่อเลือกข้างไม่ควรมีอีกแล้ว ต้องฝักใฝ่แค่ประชาชนและประโยชน์ของประเทศชาติเท่านั้น ถ้ามีการตีทะเบียนสื่อเกิดขึ้นไม่ว่าช่วงไหน ตนจะลาออกจาก สปท.ทันที
สั่ง จนท.วิเคราะห์ร่าง พรบ.
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. กล่าวอวยพรเนื่องในวันเสรีภาพสื่อโลกว่า ขออวยพรให้สื่อมวลชนประสบความสำเร็จในการทำงาน สื่อถือเป็นปัจจัยสำคัญในการทำงานของรัฐบาล และมีความสำคัญต่อประชาชน จึงอยากให้สื่อมวลชนได้สร้างความสมดุลในการทำงานร่วมกับรัฐบาลเพื่อประชาชน อย่าได้มีความขัดแย้งซึ่งกันและกัน หลายอย่างที่เป็นส่วนดีก็ขอให้สนับสนุน แต่ส่วนที่ไม่ดีก็สามารถติติงได้ แต่ต้องอยู่ในกรอบ เคารพซึ่งกันและกัน จึงขอให้ทุกคนในองค์กรสื่อประสบความสำเร็จ ทั้งหน้าที่การงาน มีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ลดความขัดแย้งในสังคม
"สื่อควรส่งเสริมสนับสนุนรัฐบาลในสิ่งที่ดี ส่วนที่ไม่ดีก็ติติงมา แต่จะล้มทุกอย่างบอกว่าไม่ใช่หรือไม่ดีคงไม่ได้ เพราะต้องรับฟังทั้งหมด รัฐบาลไม่ได้บริหารด้วยผมคนเดียว เพราะผมรับฟังทุกภาคส่วน แล้วสรุปว่าจะมีนโยบายอย่างไร ไม่ใช่อยากทำอะไรก็ทำ แต่อย่างไรก็ขอให้ทุกคนมีความสุข ส่วนใครไม่มีแฟนก็ขอให้มี แต่งงานให้ได้เร็วๆ ส่วนใครไม่แต่งงานก็ดีแล้ว จะได้สบายใจ" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวถึงกรณีการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ควบคุมสื่อว่า ตนได้มอบหมายให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี หาทางพูดคุยเพื่อหาทางออกในเรื่องดังกล่าว ซึ่งสื่อจะคุมกันเองได้หรือไม่ และจะมีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลได้อย่างไร จะมีความรับผิดชอบอย่างไร โดยนายวิษณุได้รับไปพิจารณาแล้ว
ด้านนายวิษณุ เครืองาม กล่าวถึงเรื่องร่าง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนว่า ได้รับตัวร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้แล้ว ซึ่งได้อ่านตัวร่างแบบผ่านๆ และเห็นว่าจะต้องผ่านการปรับปรุงก่อนที่จะส่งมาที่ ครม. เบื้องต้นให้เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ตัวร่างฉบับดังกล่าวแล้ว ส่วนการจัดทำกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 77 หากผู้เสนอร่างยังไม่ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น รัฐบาลก็จะเป็นผู้ดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้อยู่วาระการปฏิรูปประเทศ รัฐบาลจะเป็นผู้เสนอร่างกฎหมายนี้ไปยัง สนช. รัฐสภา
"โดยรัฐบาลจะพิจารณาปรับปรุงให้เกิดความสมบูรณ์ แต่ต้นเรื่องก็มาจาก สปท. และหลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์สั่งการให้ร่วมกับกระทรวงยุติธรรมและกฤษฎีกา ยืนยันว่าการดำเนินการหลังจากนี้จะเชิญตัวแทนสื่อร่วมให้ความคิดเห็นโดยยังไม่มีกรอบการดำเนินการที่ชัดเจน เนื่องจากว่าขณะนี้ตัวกฎหมายยังไม่ได้ส่งมา ทั้งนี้ จะยึดการพิจารณาตามจดหมายเปิดผนึกที่ทางองค์กรสื่อได้ยื่นต่อนายกฯ"
รองนายกฯ กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ พอใจหลังจากที่ได้พูดคุยกับนายกสมาคมนักข่าวฯ เชื่อว่าสามารถหารือกันได้แบบถ้อยทีถ้อยอาศัย และในฐานะที่เป็นรองนายกฯ ด้านกฎหมาย ก็ได้จัดการรับฟังความคิดเห็นในกฎหมายฉบับต่างๆ ที่มีความขัดแย้ง ยอมรับว่าบางประเด็นแก้ไขได้ และบางประเด็นไม่สามารถแก้ไขได้ แต่ที่สุดทุกฝ่ายก็อยู่กันได้ความสามัคคีปรองดอง แต่ประเด็นใดที่มีความสำคัญเกินกว่ามาตรการทางกฎหมายก็จะเข้าสู่เวทีปรองดองของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ แต่ถ้าเรื่องใดเป็นเรื่องของกฎหมายขั้นตอนตามหลักทั้ง นิติศาสตร์นิติธรรม และนิติรัฐ ตนก็สามารถช่วยเหลือแก้ไขได้
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวให้กำลังใจสื่อมวลชนเนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกว่า ขอให้สื่อทำหน้าที่เป็นกระจกเงา ให้ทำงานที่เป็นประโยชน์กับสังคม และช่วยกันทำให้ประเทศเดินหน้า.
- - สำนักข่าว ไทยโพสต์ วันที่ 4 พฤษภาคม 2560 - -