บทความ

ย้อนรอย คดีอดีต ผอ. องค์การโทรศัพท์แก้สัญญาเอื้อ AIS

โดย ดร.มานะ นิมิตรมงคล โพสเมื่อ Jul 18,2024

ย้อนรอย คดีอดีต ผอ. องค์การโทรศัพท์แก้สัญญาเอื้อ AIS

.
เรื่องเดียวกัน... AIS รอด แต่ 'สุธรรม มลิลาอดีตผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์ฯ (ทศท.) จำคุก ปี ชดใช้เงิน 4.6 หมื่นล้านบาท ข้อหาเอื้อประโยชน์ AIS มันเกิดอะไรขึ้นในคดีนี้

คดีและคำพิพากษา..

คดีนี้เกิดขึ้นช่วงปี 2544 เมื่อ AIS ซึ่งขณะนั้นมีนายทักษิณ ชินวัตรและครอบครัวเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ขอแก้สัญญาสัมปทานครั้งที่ 6 !! แล้วอดีต ผอ. ทศท. ท่านนี้อนุมัติให้ แต่มีการปิดบังข้อมูลและมิได้ดำเนินการให้ครบถ้วนตามมติของคณะกรรมการฯ ส่งผลให้ ทศท. รัฐวิสาหกิจของชาติเสียหาย 7.13 หมื่นล้านบาท

สาระสำคัญในการแก้คือ ทศท. ยอมลดค่าสัมปทานให้ AIS จาก 25% - 30% เหลือ 20% ตามมูลค่าหน้าบัตรในส่วนของซิมโทรศัพท์แบบ Pre - Paid โดยรู้เป็นอย่างดีว่าเป็นอัตราต่ำกว่าที่เรียกเก็บจากบริษัท แทค ที่เป็นคู่แข่งขณะนั้น (จำเลยอ้างไม่รู้ล่วงหน้าว่าระบบ Pre - Paid จะได้รับความนิยมมากกว่า Post – Paid)

ศาลอาญาคดีทุจริตฯ ชั้นต้น “ยกฟ้อง” แต่นายอำนาจ พวงชมพู อธิบดีศาลคดีทุจริตกลางในขณะนั้นมีความเห็นแย้ง โจทย์อุทธรณ์ ศาลตัดสินว่าจำเลยผิด ต่อมาศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลอุทธรณ์

ประเด็นเพิ่มเติม..

1. คดีนี้เป็น ใน คดี ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ปี 2553) ยกเป็นเหตุให้ยึดทรัพย์ นายทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว ที่ได้จากการขายหุ้นและเงินปันผลรวมทั้งสิ้น 46,373 ล้านบาทให้ตกเป็นของแผ่นดิน

โดยระบุเหตุผลว่า เป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการร่ำรวยผิดปกติ และเป็นการกระทำที่ขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม

(อีก คดีคือ คดีแปลงสัมปทานโทรศัพท์ฯ เป็นภาษีสรรพสามิต คดี Exim Bank ปล่อยกู้พม่า คดีสนับสนุนกิจการดาวเทียมไอพี สตาร์ คดีแก้สัญญาสัมปทานโทรศัพท์ฯ ทำให้รัฐเสียเปรียบ)

2. เหตุการณ์ทำนองนี้ถ้าเกิดในสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง เชื่อแน่ว่าผู้บริหารบริษัทเอกชนเดินคอตกเข้าคุกเป็นแถว แต่นี่เมืองไทยเอกชนไม่กลัวเพราะทุกอย่างเงินซื้อได้ นโยบายรัฐจึงเปลี่ยนไปมา หลักกฎหมายไร้ค่า กฎหมายโบราณก็ตั้งเป้าแค่เอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐ ป.ป.ช. ทำให้ไม่มีอำนาจเอาผิดเอกชนนอกจากจะ “มีหลักฐาน” ว่าติดสินบนเจ้าหน้าที่

กฎหมาย ป.ป.ช. ฉบับปัจจุบันก้าวหน้าขึ้น มีดาบคมให้เล่นงานนิติบุคคลที่จ่ายสินบนอาจโดนลงโทษปรับถึงสองเท่าของวงเงินสินบนหรือผลประโยชน์ที่ตนได้รับ

สรุปคืองานนี้รัฐเสียหาย ครั้นจะไปเรียกคืนจากเอกชนก็ไม่ได้เพราะผู้มีอำนาจของรัฐไปแก้สัญญาให้เขาแล้ว เรื่องจึงจบแค่เจ้าหน้าที่รัฐติดคุกแต่พ่อค้านักการเมืองรวย ไม่ต่างจากคดีจำนวนมาก

เช่น คดีสินบนโรงไฟฟ้าขนอม จ.นครศรีธรรมราช มีเจ้าหน้าที่รัฐติดคุก ราย ชดใช้เงิน 20 ล้านบาท แต่เอกชนคนจ่ายสินบนลอยนวลทั้งที่มีพยานหลักฐานมากมาย

ปัจจุบัน AIS ได้ขายกิจการเปลี่ยนกลุ่มผู้ถือหุ้นไปหลายปีแล้ว

เรื่องของบ้านเมืองหากปล่อยให้คดโกงไปแล้วมีแต่จะสร้างความเสียหาย ทางที่ดีเราคนไทยมาช่วยกันติดตามเฝ้าระวังและแจ้งเหตุไม่ปล่อยให้ใครปล้นชาติเอาเปรียบประชาชนได้ง่ายๆ จะดีกว่าไหมครับ!!

ดร. มานะ นิมิตรมงคล
เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
18 กรกฎาคม 2567