รายการ ACT Now

ACT Now EP.14 “จับโกงงบ COVID ด้วย ACT Ai”

โดย ACT โพสเมื่อ Mar 08,2021

ACT Now EP.14 – “จับโกงงบ COVID ด้วย ACT Ai” ตรวจสอบ ติดตาม แจ้งเบาะแส ไร้คอร์รัปชัน
คือสิ่งที่เรียกว่า Data Virtualization คือเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นเครื่องมือหรือเป็นภาพ หรือเป็นเรื่องเล่าอะไรสักอย่างที่ทำให้คนเข้าถึงเข้าใจ แล้วก็เข้าใช้ง่าย ข้อมูลนี้ทางสภาพัฒน์ฯ ให้ความร่วมมือในการเปิดข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบ เราเรียกว่า Machine readable หรือว่าเป็น File digital ที่เอามาใช้งานได้เลย เปิดมือถือมาหรือเปิด



ACT Now EP 14 1 สู้โกง ด้วยข้อมูล ผ่านระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) สภาพัฒน์
ระบบ eMENSCR จะเป็นฐานข้อมูลแห่งชาติที่รวบรวมโครงการของรัฐทั้งหมด และเปิดให้หน่วยงานของรัฐด้วยกันสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เพื่อลดขั้นตอนการทำงานระหว่างกัน และลดการใช้กระดาษอีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินงาน โครงการและการดำเนินการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ทั้งที่ใช้งบประมาณและไม่ใช้งบประมาณคนวางแผนสำคัญที่สุดคือต้องมีข้อมูล ข้อมูลการทำงาน จนสุดท้ายคือข้อมูลในการที่จะดูว่าโครงการสำเร็จหรือไม่ ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการคิดระบบ ระบบหนึ่งขึ้นมา เราเรียกว่าระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ พอเราทำเราค้นพบหนึ่งข้อคือข้อมูลถ้ากองอยู่ที่ระบบไม่มีประโยชน์เพราะฉะนั้นหลักการง่ายๆ คือถ้าเราเปิดเผยข้อมูลมากขึ้นเท่าไร ประโยชน์จะเกิดขึ้นมากขึ้นเท่านั้นครับ ผมเชื่อในคำว่าพลังของข้อมูลแต่พลังของข้อมูลหมายความว่าต้องถูกใช้ประโยชน์ จะมีพลังมากขึ้นกว่าเดิม เพราะฉะนั้นอยู่ที่ว่าแล้วเราใช้ข้อมูลอย่างไรบ้าง ทางสายนโยบายอย่างผมคือใช้ข้อมูลในการวางแผน แต่ก็อีกเช่นกัน การวางแผนจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเรารู้ว่าสิ่งที่เราทำไปได้เกิดประโยชน์หรือไม่ ก็จะเป็นจุดหนึ่งที่บอกว่าถ้าอย่างนั้น เราควรให้คนอื่นเข้ามาใช้ข้อมูลร่วมกันด้วย ยิ่งใช้ เรายิ่งเห็นช่องว่างของนโยบาย ยิ่งเห็นว่าควรเติมเต็มนโยบายอย่างไร นี้คือจุดเริ่มต้นจริงๆผมขออนุญาตเปลี่ยนคำว่าตรวจสอบเป็นร่วมดำเนินการ เพราะว่าอย่างประชาชน ถ้าเกิดเขาเห็นว่าโครงการที่ลงในพื้นที่เขา อาจไม่เป็นไปตามสิ่งที่บอกหรือทำแล้วอาจจะรู้สึกว่าอาจจะไม่ใช่ ถ้าเขาสะท้อนกลับมาภาครัฐเองสามารถปรับตัว แล้วก็ปรับให้การดำเนินโครงการนั้น ไปสู่สิ่งที่เป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริงได้ เพราะฉะนั้นอยากจะเปลี่ยนคำว่าตรวจสอบมาเป็นร่วมดำเนินการในเรื่องนี้ ก็จริงๆ อย่างที่ผมเรียนให้ทราบ ถ้าเรามีข้อมูล อย่าว่าแค่จับโกงเลย ทำให้ตัวโครงการนโยบายไปถูกที่ถูกทาง ผมเคยเรียนให้ทราบหนึ่งอย่างว่าไม่จำเป็นต้องจับโกง ถ้าเกิดเราสามารถเห็นข้อมูลหมด ไม่จำเป็นต้องจับโกงแล้วเพราะว่าโกงเกิดขึ้นไม่ได้ผมเชื่อว่า ณ เวลานี้ตัวหน่วยงานเองตระหนักถึงความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลเพราะว่าถ้าเราไม่เปิด ผมเชื่อว่าจะมีอีกหลายคนที่จะขอให้เปิดเพราะฉะนั้นวันนี้จังหวะที่ดีที่สุดคือเราเปิดแล้วพอยิ่งเปิดยิ่งมีการพัฒนา พอเปิดเสร็จ อาจจะเห็นว่าข้อมูลเราบางทีไม่ใช่เพราะฉะนั้นยิ่งเปิดจะยิ่งเห็นว่าไม่ใช่ ยิ่งเปิดยิ่งเห็นช่องว่างเพราะฉะนั้นยิ่งเปิดจะยิ่งทำให้เกิดการพัฒนามากขึ้น ก็อย่างที่ผมเรียนให้ทราบว่าระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติได้ขอให้หน่วยงานนำเข้าข้อมูล ตอนแรกเขามองว่าเป็นภาระเขาหนักหน่วงของเขามาก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องทำให้ภาระที่เขารู้สึกว่าหนักกลายเป็นพลังของเขา อย่างเช่นวันนี้ ยิ่งเขาเปิดข้อมูลมาหาเรา เราสามารถเชื่อมข้อมูลของหน่วยงานอื่นไปหาเขาได้ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นการมองเรื่องๆ หนึ่ง มิติหนึ่ง เห็นจากหลายๆ หน่วยงานเข้าด้วยกันแล้วเขาสามารถที่จะไปจับมือให้กับหน่วยงานอื่นร่วมมือกันทำงานก็ได้คือต้องบอกเลยว่าสิ่งที่ผมเห็นจากการที่ดึงเอาข้อมูลของภาครัฐไปใช้งานต่อ เป็นความสุขที่ได้เห็นว่างานภาครัฐมีประโยชน์ เราถูกมองว่างานภาครัฐ บางทีทำไปอย่างนั้นแหละ แต่พอเราปล่อยข้อมูลของภาครัฐออกให้กับไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือว่าเป็นองค์กรเอกชนหรือว่าอย่าง ACT เอง แล้วไปต่อยอด เรารู้สึกว่านี่แหละคือคนที่สามารถที่จะชี้ให้เราเห็นว่าประเด็นอื่นๆ ที่เรามองไม่เห็นคืออะไร หรือว่าเราอาจมองข้ามไปคืออะไร อย่างเช่นตัว ACT Ai หรือ โควิด-19 อาจจะมองเรื่องของการตรวจสอบหรือมุมมองที่บอกว่าโครงการเหล่านี้น่าจะตอบสนองประชาชนได้มากกว่านี้เพราะฉะนั้นผมขออนุญาตย้ำเลยว่าสำคัญที่สุดคือเราสามารถเห็นได้ว่าคนอื่นเขามองอย่างไรบ้าง หน้าที่ของพวกเราคือทำให้สิ่งที่คนอื่นมอง สิ่งที่เรามองหรือสิ่งที่เราต้องเป็น ให้สามารถที่จะมาปรับแล้วเข้าหากัน แล้วก็มีประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ



ACT Now EP.14.2 - ความร่วมมือเพื่อความโปร่งใสระหว่างภาครัฐกับประชาชน
ต้องบอกก่อนว่าสิ่งที่เราทำเพราะเราเชื่อว่ายิ่งเราเปิดข้อมูลจะนำไปสู่ภาครัฐที่อย่าเรียกว่าโปร่งใสอย่างเดียวเลย ภาครัฐที่มีประสิทธิภาพมากๆ เลย ยิ่งเปิดให้มีการเข้าถึงข้อมูล ยิ่งมีการใช้ข้อมูลเพื่อขยายผลต่อไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดพลังของข้อมูลจริงๆ แล้วทำให้เกิดพลังในการที่จะพัฒนาตัวนโยบายหรือตัวโครงการได้อย่างมาก แล้วก็อาจจะมองเห็นมิติที่ภาครัฐเองไม่เห็นแต่เป็นสิ่งที่ภาคประชาชนมองเห็นหรือเป็นสิ่งที่ภาคประชาชนเขาต้องการจะเกิดแต่ว่าภาครัฐเองอาจจะไม่เห็น พอเราสามารถที่จะแชร์ความเห็นหรือมิติในการมองที่ต่างกัน แล้วหาจุดร่วมกันได้ น่าจะเกิดพลังที่มากกว่าเดิมอีกมหาศาล เราปล่อยข้อมูลของภาครัฐออกให้กับไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือว่าเป็นองค์กรเอกชนหรือว่าอย่าง ACT เอง แล้วไปต่อยอด เรารู้สึกว่านี่แหละคือคนที่สามารถที่จะชี้ให้เราเห็นว่าประเด็นอื่นๆ ที่เรามองไม่เห็นคืออะไร หรือว่าเราอาจมองข้ามไปคืออะไร อย่างเช่นตัว ACT Ai หรือ โควิด-19 สิ่งที่ผมเห็นจากการที่ดึงเอาข้อมูลของภาครัฐไปใช้งานต่อ สำคัญที่สุดคือเราสามารถเห็นได้ว่าคนอื่นเขามองอย่างไรบ้าง หน้าที่ของพวกเราคือทำให้สิ่งที่คนอื่นมอง สิ่งที่เรามองหรือสิ่งที่เราต้องเป็น ให้สามารถที่จะมาประสานศาสตร์และศิลป์เข้าหากัน ศาสตร์หมายความว่าเราสามารถเอาวิทยาศาสตร์ มาทำให้งานทางด้านของการพัฒนานโยบายออกเป็นรูปเป็นร่างมากกว่าเดิม ไม่ใช่ว่าเราทำได้เองนะ คือความร่วมมือมาก คือสภาพัฒน์ฯ เองอาจจะมีแนวคิด มีอะไรต่างๆ นานา แต่ถ้าไม่ได้เนคเทคมาเขียนเรื่องโปรแกรม ไม่มีทางสำเร็จเลยเพราะฉะนั้นการต่อยอดสำคัญมากConcept ที่เราทำ ถามว่าถ้าอยากดูข้อมูลรายละเอียดทั้งหมดที่เป็นตัวเลขตัวหนังสือ คุณเข้าไปดูในเว็บของสภาพัฒน์ฯ ได้เพราะว่าเขาโชว์อยู่แล้ว เราไม่จำเป็นที่จะต้องทำซ้ำแต่จะทำยังไงให้มีเครื่องมือที่ทำให้เข้าถึงข้อมูลชุดนั้นจริงๆ มีอีกประโยชน์หนึ่งของ โควิด Ai ที่ทางสภาพัฒน์ฯ เปิดข้อมูลมาแล้ว แต่ว่าเราทำงานในฐานะเหมือนเป็นองค์กรภาคประชาชนก็คือการให้ฟีดแบคบางอย่างในแพลตฟอร์มจะมีสองฟังก์ชั่นหลักๆ ฟังก์ชั่นแรกก็คือการกด Like หรือว่า Unlike คือบางทีเราเห็นโครงการเกิดขึ้นในจังหวัดบ้านเรา เราอาจจะเป็นกลุ่มเป้าหมายจริงแต่ว่าเหมือนจุดประสงค์ของโครงการอาจจะรู้สึกว่าไม่ตรงนะ น่าจะต้องปรับ เราสามารถให้ความเห็น Like กับ Unlike ได้ อีกอันหนึ่งที่ทำได้ในแพลตฟอร์มนี้ก็คือการส่งเบาะแสหรือว่าร้องเรียนจะมีปุ่มให้กดดูได้ว่าอันนี้ดูเป็นโครงการที่เรารู้สึกว่าเคยมี เคยเห็นสิ่งนี้เกิดขึ้นในจังหวัดบ้านเราแล้วแต่ว่าโครงการเขียนมาแบบนี้ อาจจะไม่เมคเซนส์รึเปล่า เราสามารถกดเข้าไปแล้วก็จะไปขึ้นในเว็บของศอตช. ซึ่งเราสามารถส่งข้อร้องเรียนไปได้ สิ่งที่ต้องมีก็คือความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนด้วย ก็เลยรู้สึกว่าอันนี้เป็นอันที่ได้ค่อนข้างครบในทุกๆ ด้าน ทั้งข้อมูลจากรัฐ มีภาคเอกชน ภาคประชาชน เข้ามาช่วยในส่วนนี้ก็เลยรู้สึกว่าเป็นงานที่ค่อนข้างครบถ้วนแล้วก็มีการใช้ประโยชน์ได้จริง

ดร.วันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

คุณธนิสรา เรืองเดช ผู้ร่วมก่อตั้งหลักของ PunchUp