ประเด็นร้อน

หลักการของ CoST

โดย ACT โพสเมื่อ Jun 01,2020

  โครงการก่อสร้างภาครัฐถือเป็นโครงการลำดับต้นๆ ที่พบการคอร์รัปชันเกิดขึ้นมาช้านาน มีความพยายามที่จะขจัดภัยร้ายซึ่งค่อยกัดกินงบประมาณแผ่นดินอันเป็นภาษีของประชาชนให้หมดสิ้นไป

 

ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้นำเอาแนวคิด โครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ หรือ CoST (Infrastructure Transparency Initiative) มาใช้ ซึ่งเป็นเครื่องมือป้องกันคอร์รัปชัน เพิ่มความโปร่งใส ในงานก่อสร้างภาครัฐ ที่หลายประเทศทั่วโลกยึดถือปฏิบัติสำหรับดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโครงการพื้นฐาน (Infrastructure Project) ของประเทศ

 

หัวใจของโครงการ CoST เป็นการมุ่งสร้างความโปร่งใสใน โครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของหน่วยงานรัฐ’ 

ด้วยการวางระบบให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลโครงการแก่สาธารณชนตลอดระยะเวลาดำเนินงาน และมีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องทางเทคนิคและมาตรฐานการก่อสร้าง โดยคณะทำงานตรวจสอบข้อมูล (Assurance Team) และมี ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม หรือ MSG (Multi-Stakeholder Group)’ ทำหน้าที่คณะกรรมการกำกับดูแลการงานและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก รวมทั้งดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายกับผู้รับผิดชอบโครงการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องได้ ในกรณีพบสิ่งผิดปกติในโครงการก่อสร้าง

 

กลไกการทำงานของ CoST จะทำงานร่วมกันระหว่าง ภาคส่วน คือ

ภาครัฐ: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง

ภาคเอกชน: คณะทำงานตรวจสอบข้อมูล Assurance Team                            

ภาคประชาชน: องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และองค์กรเอกชนอื่นๆ

 

ขณะเดียวกันเพื่อให้โครงการโปร่งใส และมีการตรวจสอบการดำเนินอย่างเข้มข้น คณะทำงานตรวจสอบข้อมูล (Assurance Team) ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญของระบบ CoST เนื่องจากมีหน้าที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโครงการ CoST

 

โดยจะเข้าไปตรวจสอบข้อมูลของหน่วยงานเจ้าของโครงการ ถึงความครบถ้วนและถูกต้องของข้อมูลที่เปิดเผย และประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงตามที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสนใจ อย่างเช่น การแข่งขันอย่างเป็นธรรมในการจัดซื้อจัดจ้าง ความคุ้มค่าและประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณ การตอบสนองต่อความต้องการของภาคประชาชน นอกจากนั้นยังมีการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อมูลต่างๆ พร้อมจัดเวทีภาคประชาชน เพื่อรับฟังความคิดเห็น ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนั้นก็จะรายงานต่อคณะกรรมการ MSG และเผยแพร่ต่อสาธารณชน 

 

ในกรณีที่คณะทำงานตรวจสอบข้อมูลตรวจพบความไม่ถูกต้อง ความไม่ครบถ้วนของข้อมูลที่เปิดเผย หรือตรวจพบพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต หรืออาจนำไปสู่การทุจริต ก็สามารถดำเนินการรายงานให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบได้ทันท่วงที

 

ตัวอย่างโครงการ CoST ที่ได้นำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมในปี 2562 ที่ผ่านมา 

 

เช่น โครงการแก้ไขปัญหาจราจรในปริมณฑลและภูมิภาคขยาย ถนนราชพฤกษ์ระยะที่ 2 (ตอนที่ 3) หรือทางหลวงหมายเลข 345 จ.นนทบุรี อันเป็นย่านหนึ่งที่มีการเติบโตจากการที่เมืองยายตัวออกไป มีโครงการที่อยู่อาศัยหนาแน่น พร้อมด้วยสถานที่ศึกษา แหล่งการค้าขายเชิงพาณิชย์ จนส่งผลให้การจราจรมีความเนืองแน่น โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน

 

หน่วยงานเจ้าของโครงการคือ กรมทางหลวงชนบท จึงได้ทำมีโครงการขยายถนนเพิ่มจาก ช่องทางจราจร เป็น 10 ช่องทางจราจร พร้อมก่อสร้างสะพานข้ามคลอง แห่ง เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร สามารถรองรับปริมาณการจราจรได้เป็น 55,000 คันต่อวัน 

 

ในการกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง มีผู้เข้าร่วมประมูลด้านราคา ราย และมีการแข่งขันด้านราคาอยู่ที่ร้อยละ 9.97 ทั้งนี้มูลค่าสัญญา 988,893,795 บาท ราคากลาง 1,098,351,000 บาท 

 

มีการควบคุมคุณภาพโดยบริษัทที่ปรึกษา และเป็นไปตามมาตรฐานของกรมทางหลวงชนบท โดยปัญหาหลักคือการเชื่อมต่อระบบระบายน้ำของประชาชนในพื้นที่ ข้างฝั่งถนน ที่จะต้องมีระบบบำบัดน้ำก่อน ซึ่งถือว่าเป็นข้อกำหนดตามกฎหมาย ขณะเดียวกันประชาชนในพื้นที่ยังสามารถส่งเสียงความต้องการเกี่ยวกับการดำเนินงานได้ ซึ่งต้องการให้หน่วยงานรถน้ำเพื่อลดฝุ่นละออง ติดตั้งป้ายสัญลักษณ์บอกเส้นทาง และแก้ไขปัญหารถติดในชั่วโมงเร่งด่วน ผลลัพธ์คือประชาชนมีความเชื่อมั่นร้อยละ 71.2

 

การนำโครงการ CoST มาใช้ สามารถเปิดเผยข้อมูลโครงการได้ 100% อีกทั้งส่งผลให้ประหยัดงบได้ 109,457,205 บาท โดยมีความคืบหน้าร้อยละ 63.66 เร็วกว่าแผนงานร้อยละ 0.24 และได้มีการปรับแผนงานเพื่อให้มีความสอดคล้องกับความคืบหน้า เนื่องจากมีการเพิ่มเติมงานระบบระบายเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

 

ทั้งนี้ CoST ได้กำหนดแนวทางในการเปิดเผยข้อมูล โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการจะต้องเปิดเผยข้อมูลตลอดระยะเวลาของโครงการก่อสร้างจนกว่าจะเสร็จสิ้น ซึ่งข้อมูลที่ถูกกำหนดให้มีการเปิดเผยตามโครงการ CoST ประกอบด้วยข้อมูลหลักใน ด้าน จำนวน 40 รายการ 

 

ด้านที่ ข้อมูลการจัดทำและนำเสนอโครงการ มี รายการ 

 

1. ชื่อหน่วยงานเจ้าของโครงการ 2. รายละเอียดยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ  3. ชื่อโครงการ 4. สถานที่ตั้งของโครงการ  5. วัตถุประสงค์โครงการ 6.รายละเอียดโครงการ  

 

ด้านที่ ข้อมูลการเตรียมความพร้อมของโครงการ มี รายการ 

 

1. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ 2. ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 3. ผลกระทบการเวนคืนที่ดิน 4. รายละเอียดในการติดต่อเจ้าหน้าที่และหน่วยงานเจ้าของโครงการ 5. แหล่งเงินงบประมาณ 6. งบประมาณโครงการ 7. วันที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณโครงการ 

 

ด้านที่ ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง มี 14 รายการ 

 

1. ชื่อหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง 2. รายละเอียดในการติดต่อของหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง 3. ขอบเขตงาน (TOR) 4. วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง 5. ประเภทของสัญญา 6. สถานะปัจจุบันของสัญญา 7. จำนวนบริษัทที่เข้าร่วมประกวดราคา 8. ราคากลาง 9. หน่วยงานบริหารสัญญา 10. ชื่อสัญญา และเลขที่สัญญา 11. ชื่อบริษัทที่ได้รับสัญญา 12. มูลค่าของสัญญา 13. ขอบเขตงานตามสัญญา (Contract Scope of work) 14. วันที่ลงนามในสัญญา วันเริ่มต้นสัญญาและระยะเวลาการดำเนินการตามสัญญา

 

ด้านที่ ข้อมูลการดำเนินโครงการ มี รายการ 

 

1. การเปลี่ยนแปลงมูลค่าของสัญญา 2. มูลค่าของสัญญาที่เปลี่ยนแลปงจากการผันผวนของค่าเงิน 3. การเปลี่ยนแปลงระยะเวลาดำเนินการตามสัญญา 4. การเปลี่ยนแปลงขอบเขตสัญญา 5. เหตุผลในการเปลี่ยนแปลงมูลค่าสัญญา 6. เหตุผลในการเปลี่ยนแปลงขอบเขตและระยะเวลาดำเนินการตามสัญญา 

 

และ ด้านที่ ข้อมูลหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ มี รายการ 

 

1. สถานะโครงการ 2. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการ 3. วันที่โครงการเสร็จสมบูรณ์ 4. ขอบเขตงานเมื่อเสร็จสมบูรณ์ 5. เหตุผลในการเปลี่ยนแปลงโครงการ6. การตรวจสอบและรายงานการประเมินผลโครงการ 7. การจัดการข้อร้องเรียน

 

และเพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลเชิงรุกของโครงการก่อสร้างตามแนวทางของ CoST ทั้ง 40 รายการครบถ้วน และประชาชนสามารถติดตาม ตรวจสอบได้ รวมทั้งสะดวกต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐที่ต้องจัดทำข้อมูล ยังได้มีการจัดทำเว็บไซต์ CoST เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลโครงการมาแสดงโดยอัตโนมัติแบบออนไลน์เรียลไทม์

 

ตั้งแต่ข้อมูลการจัดทำและนำเสนอโครงการ การเตรียมความพร้อมโครงการ การจัดซื้อจัดจ้าง การดำเนินการโครงการ และหลักจากเสร็จสิ้นโครงการและการจัดการข้อร้องเรียน 

 

ซึ่งการรายงานความคืบหน้าโครงการในระบบ CoST ทุกครั้งที่มีการเบิกจ่ายเงินตามงวดงาน หรือกรณีที่เป็น Unit Cost ให้รายงานความคืบหน้าทุกครั้งที่มีการเบิกจ่ายเงิน เมื่อโครงการเสร็จสิ้น รายการค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการ และวันที่โครงการเสร็จสมบูรณ์ จะเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบ e-GP มายังระบบ CoST โดยอัตโนมัติ

 

การนำโครงการ CoST มาใช้กับโครงการก่อสร้างภาครัฐของไทย นับเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่จะสร้างมาตรฐานในการเปิดเผยข้อมูลจากหน่วยงานเจ้าของโครงการสู่สาธารณะ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในทุกขั้นตอน เป็นการเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างภาครัฐ และกระตุ้นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ส่งผลเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่ากับงบประมาณแผ่นดินอันเป็นภาษีของประชาชน และสร้างประโยชน์สูงสุดกลับสู่สังคม