บทความ

ถึงเวลา Disrupt คอร์รัปชันกันเถอะ

โดย ACT โพสเมื่อ Oct 08,2018

กำหนดการ

 

 

- - ขอบคุณข้อมูลจาก โพสต์ทูเดย์ - -

 

คอลัมน์: คิดเป็นเห็นต่าง : โดย พิษณุ พรหมจรรยา ที่ปรึกษาแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทย ในการต่อต้านทุจริต (CAC)


ถือเป็นธรรมเนียมไปแล้วที่แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) จะจัดงานสัมมนาใหญ่ประจำปีในช่วงปลายปี โดยในปีนี้ CAC จะจัดงาน National Conference on Collective Action against Corruption ครั้งที่ 9 ขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 11 ต.ค. 2561 ที่โรงแรมดุสิตธานีกรุงเทพฯ ในหัวข้อ “Disrupting Corruption” หัวข้อของงานในปีนี้ ตองถือว่าเข้ากับยุคสมัยที่เทคโนโลยีพัฒนา ไปอย่างรวดเร็ว จนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้าง (Structural Change) ขึ้นในแทบทุกวงการธุรกิจ สิ่งที่อยู่เบื้องหลังการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้มีคำเรียกที่เข้าใจกันทาไปว่า Disruption

 

คำว่า Disruption เป็นศัพท์ทางธุรกิจที่มีความหมายพิเศษเฉพาะ ซึ่งถ้าจะอธิบายแบบง่ายๆ ให้เห็นภาพก็คือ บริบทในการทำธุรกิจที่ เปลี่ยนแปลงไป โดยมีสาเหตุหลักมาจากการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการซึ่งทำให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ที่สามารถ ให้บริการและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคไต้ดีกว่าธุรกิจแบบ ดั้งเดิมและยังให้คุณค่า (Value) แก่ผู้บริโภคที่มากขึ้นด้วย

 

หากเราหันมองดูรอบๆ ตัว ทั้งวิถีชีวิต และทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเรา ล้วนแต่ถูก Disrupt ทังสิน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการเลือกซื้อสินค้าและบริการเปลี่ยนมาอยู่บน Platform แบบ E-Commerce การชำระเงิน ผ่าน QR Code หรือระบบชำระเงินยุคใหม่ที่ไม่ต้องอาศัยธนาคารพาณิชย์ หรือการเสพสื่อต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ แทนสื่อแบบดั้งเดิม ฯลฯ ในอีกด้านหนึ่ง ต้องถือว่าเรากำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของ ประวัติศาสตร์ที่เปิดโอกาสให้เราสามารถแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนได้โดยอาศัยเทคโนโลยีต้านต่างๆ ที่ก้าวหน้าไป มากในปัจจุบันมาผนวกเข้ากับข้อมูลดิจิทัลที่มีอยู่มากมายในรูปแบบของ Big Data มาพัฒนาและประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มความโปร่งใส ปรับปรุงระบบงานและติดตามตรวจสอบหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขสำคัญใน การ Disrupt ปัญหาคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ทำให้การต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันมีความหวังมากขึ้น

 

ในงานสัมมนาวันพฤหัสบดีนี้ คุณ Angela Joo-Hyun Kang ซึ่ง เป็นผู้ก่อตังและ Executive President ของ Global Competitiveness Empowerment Forum (GCEF) จะมาเล่าถึงตัวอย่างที่น่าสนใจของประเทศเกาหลีใต้ ว่าทำอย่างไรถึงสามารถปลุกสำนึกต้านโกงให้กับคนทั้งชาติ จนเกิดเป็นพลังที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงผู้นำสูงสุดทางการเมืองของประเทศได้สำเร็จ

 

นอกจากนั้น ก็ยังมีการเสวนากลุ่ม โดยคุณนนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ เอคเซนเซอร์ ประจำประเทศไทย จะพูดถึงการนำ Blockchain และเทคโนโลยีสมัยใหม่อื่นๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการ Disrupt คอร์รัปชัน ในขณะที่คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเครดิตบูโร จะพูดถึงการนำ Credit Profile ของตัวบุคคล หรือองค์กรธุรกิจมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ส่วนคุณปฏิพัทธ์ สุสำเภา กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท โอเพ่นดรีม จะมาแชร์ประสบการณ์การพัฒนาระบบ Social Reporting ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการรายงานปัญหา การทุจริตคอร์รัปชันได้

 

ในช่วงบ่ายของงานสัมมนา จะมีการกล่าวปาฐกทาพิเศษ โดยดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อด้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) (ACT) ในหัวข้อเผ็ดร้อนที่ใช้ชื่อว่า “เสือดำ, หมูป่า, และนาฬิกาเพื่อน...” สาม เรื่องนี้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร ต้องคอยติดตามรับฟ้งแบบคำต่อคำ ต่อด้วย ดร.ธานี ชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลอง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมาพูดถึง “การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อตรวจหาความขัดแย้งของผลประโยชน์” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการใช้ Big Data ให้ตรวจสอบพฤติกรรมของผู้กำหนดนโยบายว่าได้มีการแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวในระหว่างที่อยู่ในตำแหน่งหน้าที่บ้างหรือไม่

 

อย่างไรก็ตาม ต่อให้เทคโนโลยีล้ำสมัยแค่ไหน จะเป็น Blockchain หรือ Big Data ก็ไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตัวมันเอง การเปลี่ยนแปลงจะเกิดชึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์เท่านั้น เพราะฉะนั้นความท่าทายที่แท้จริงของบ้านเมืองเราไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยี แต่อยู่ที่ว่าการปรับเปลี่ยนมุมมองและแนวความคิดของคน ทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ เพื่อนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้

 

แน่นอนว่าการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ เพื่อเพิ่มประสีทธิภาพการให้บริการภาครัฐย่อม Disrupt การให้บริการแบบเติมๆ ซึ่งเป็น กระบวนการที่ประชาชนทั่วไปมองว่าทั้ง “ใหญ่ ยาว เยอะ” และก่อให้เกิดแรงต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจากฝั่งผู้ปฏิบัติหรือผู้ที่ได้ประโยชน์จากความไร้ประสิทธิภาพของระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งแรงต่อต้านนี้ผมเรียกเล่นๆ ว่า “Block Change”

 

ถึงที่สุดแล้วเทคโนโลยียุคใหม่อย่างเช่น Blockchain จะชนะ Block Change ได้หรือไม่ ก็อยู่ที่พวกเราทุกคนจะช่วยกันส่งเสียงสนับสนุน สร้างแรงกดดันทาง สังคมให้มีพลังมากๆ มีแค่เพียงวิธีนี้เท่านั้นที่จะสร้างเงื่อนไขให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้จริง ต้องเริ่มที่เราครับอย่ามัวรอใคร

 

สำหรับงานสัมมนาในวันพฤหัสนี้ ผมไม่แน่ใจว่าตอนนี้ที่นั่งเต็มหมด แล้วหรือยัง ถ้ามีท่านใดสนใจรับฟังและยังไม่ได้จองที่นั่ง ลองติดต่อสอบถามดูได้ที่คุณสุทธินี โทร.02-955-1155 ต่อ 404 หรือ suthinee@ thai-iod.com นะครับ

 

 

ถึงเวลา Disrupt คอร์รัปชัน

 

 

 

#ร่วมเป็นคนไทยตื่นรู้สู้โกง

#ACTองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน

 

Follow LINE: http://bit.ly/2luX9Dt
Follow Facebook: http://bit.ly/2z1Dxvw