ประเด็นร้อน

ป.ป.ช.ขับคลื่อนแนวทางสร้างความโปร่งใสสู่สังคมใหม่ไร้สินบน หวังภาคเอกชนหนุนต้านทุจริตทุกรูปแบบ

โดย ACT โพสเมื่อ Jun 26,2018

- - ขอบคุณข้อมูลจาก พิมพ์ไทย - -

 

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2561 สำนักงาน ป.ป.ช.จัดสัมมนา"แนวทางสร้างความโปร่งใส...สู่สังคมใหม่ไร้สินบน" ณ โรงแรม เบสท์เวสเทิร์นพลัส แวนด้า แกรนด์ ถนนแจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรา 123/5 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 ให้แก่ภาคธุรกิจเอกชนได้รับทราบ และสร้างกระแสรณรงค์และผลักดันให้ภาคธุรกิจเอกชนจัดทำมาตรการควบคุมภายในของตนเองตลอดจนเพื่อเป็นการบูรณาการความรู้และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการต่อต้านการทุจริตและสินบนทุกรูปแบบ โดยได้รับเกียรติจาก พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง กรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และการเสวนา เรื่อง "กลไกการขับเคลื่อนมาตรการป้องกันการให้สินบน" รวมทั้งการอภิปรายเรื่อง "ปัญหาการทุจริตติดสินบน ประสบการณ์ และแนวทางแก้ไข"

 

พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ออกประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องแนวทางการกำหนดมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมสำหรับนิติบุคคลในการป้องกันการให้สินบนหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม2560 พร้อมทั้งออกคู่มือการปฏิบัติ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 123/5 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 เพื่อให้ภาคเอกชนได้รับทราบและส่งเสริมให้นิติบุคคลกำหนดมาตรการควบคุมภายในเพื่อป้องกันการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ไทยหรือต่างประเทศ มีการกำหนดโทษปรับเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของนิติบุคคลที่ไม่อาจรับโทษจำคุกได้โดยมีอัตราโทษปรับจากค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหรือประโยชน์ที่นิติบุคคลนั้นได้

 

รับซึ่งกรณีที่เป็นการให้สินบนในโครงการขนาดใหญ่อาจทำให้มีโทษปรับทางการเงินเป็นจำนวนหลายร้อยล้านบาท โดยมาตรการลงโทษทางการเงินนี้จะทำให้รัฐได้รับการเยียวยาความเสียหาย เพื่อเอาประโยชน์ที่นิติบุคคลไม่ควรได้กลับคืนและเพื่อเป็นการป้องปรามการกระทำความผิด

 

สำหรับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 บัญญัติมาตรา 123/5 ผู้ใดให้ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ เพื่อจูงใจให้กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับนิติบุคคลใดและกระทำไปเพื่อประโยชน์ของนิติบุคคลนั้น โดยนิติบุคคลดังกล่าวไม่มีมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดนั้น นิติบุคคลนั้นมีความผิดตามมาตรานี้ และต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งเท่าแต่ไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหรือประโยชน์ที่ได้รับบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับนิติบุคคลตามวรรคสอง ให้หมายความถึงลูกจ้างตัวแทน บริษัทในเครือ หรือบุคคลใดซึ่งกระทำการเพื่อหรือในนามของนิติบุคคลนั้น ไม่ว่าจะมีอำนาจหน้าที่ในการนั้นหรือไม่ก็ตาม

 

 

 

 

 

 
 
 
 
 

#ร่วมเป็นพลเมืองตื่นรู้สู้โกง

#ACTองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน

 

Follow LINE: http://bit.ly/2luX9Dt
Follow Facebook: http://bit.ly/2z1Dxvw