ประเด็นร้อน
เสวนา“ตำรวจไทย มีไว้ทำอะไร”
โดย act โพสเมื่อ Jan 27,2017
ACT แนะรัฐบาล ผ่าตัดยกเครื่องตำรวจไทย
สร้างความยุติธรรมและปรองดองให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) จัดเสวนาวิชาการภายใต้หัวข้อ “ตำรวจไทย มีไว้ทำอะไร” กรณีศึกษา ขนาดตำแหน่งนายสิบยังโกง” ชงภาครัฐผ่าตัดยกเครื่องใหม่วงการตำรวจไทย สร้างความยุติธรรมให้ประชาชน ตั้งแต่ต้นน้ำของกระบวนสอบสวน ลดปัญหาการใช้อำนาจในการปฏิบัติงานและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดการคอร์รัปชันให้ทุกระดับตั้งแต่ระดับนายสิบถึงนายพล ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานที่สำคัญในสังคม กับข้อกังขาในสิ่งที่เกิดขึ้นว่าตำรวจไทยมีไว้ทำอะไร สมควรอย่างยิ่งที่ “ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์” ต้องเปลี่ยนแปลง สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ดังนั้นการปฏิรูปสังคมควรเริ่มต้นจากการปฏิรูปวงการตำรวจไทย เพื่อให้เข้าถึงประชาชนนได้อย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การสร้างความปรองดองในชาติอย่างยั่งยืน
พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานมูลนิธิองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน(ประเทศไทย) ประธานกล่าวเปิดงาน กล่าวว่า ตำรวจคือผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ แต่กลับมีคำถามว่าตำรวจไทยมีไว้ทำอะไร แสดงว่ามีคนสงสัยว่าตำรวจกำลังบกพร่องในหน้าที่ที่เป็นอยู่จริงไหม? องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันได้เข้าไปมีส่วนร่วมผลักดันการปฎิรูปและโครงสร้างของวงการตำรวจ ด้วยการเข้าร่วมในการทำงานกับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งคาดหวังว่าจะนำเกียรติภูมิของตำรวจกลับคืนมา ให้เป็นตำรวจของประชาชน จริงๆ
นายพัฒนเดช อาสาสรรพกิจ สื่อสารมวลชนผู้มากประสบการณ์ กล่าวว่า “สิ่งที่มักจะได้รับคำตอบจากตำรวจ เมื่อเรามีคำถามกับการกระทำของตำรวจ คือ “หัวหมอ?” การแก้ไขคอร์รัปชั่นของตำรวจก็ควรเกิดจิตสำนึกขอทุกฝ่าย แก้ไขทั้งความเชื่อของสังคมและกระบวนการเข้ามาเป็นตำรวจ การทำงานของตำรวจที่เป็นอิสระ ไม่มีหน่วยงานมากำกับดูแลและควบคุมการทำงานของตำรวจ ประชาชนจึงไม่ได้ความยุติธรรม เริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการสอบสวนเบื้องต้น จากตำรวจชั้นประทวน นายสิบความขาดประสิทธิภาพในการจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับประชาชนอย่างแท้จริง บ่อยครั้งที่ตำรวจใช้การวินิฉัยส่วนบุคคลจัดการกับปัญหาให้กับประชาชนเพื่อให้จบโดยง่าย จึงทำให้เกิดช่องว่างระหว่างตำรวจกับประชาชนเพิ่มมากขึ้น ยังคงเห็นการวิ่งเต้นทุกครั้งเมื่อมีการปรับตำแหน่งชั้นยศทุกครั้ง เป็นที่มีของ “ทหารหาเลี้ยงลูกน้อง ตำรวจลูกน้องหาเลี้ยงนาย” การเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน” ดังนั้นรัฐบาลจึงควรปฏิรูปตำรวจก่อนที่จะปฏิรูปอย่างอื่น
รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า “การปฏิรูปตำรวจ คือ สร้างขวัญและกำลังใจให้กับประชาชนได้มากที่สุด รัฐบาลชุดนี้อยู่มา 2 ปีแล้ว แต่ประชาชนยังไม่เห็นการปฏิรูปวงการตำรวจอย่างเป็นรูปธรรม ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ทั้งที่อัตราการก่ออาชญากรรมของตำรวจมากกว่าประชาชน ตำรวจจำนวนหนึ่งอยู่ในกระบวนการทำผิดกฎหมาย ก่อปัญหา สร้างความเสียหายให้กับประชาชนและประเทศชาติมากที่สุด จึงมีคำถามจากประชาชนเกี่ยวกับตำรวจมากมาย เช่น องค์กรไหนที่ไปก่ออาชญากรรมกับประชาชนมากที่สุด ถ้าเลือกได้จะให้รัฐบาลปฏิรูปองค์กรภาคไหนอันดับแรก เกลียดองค์กรภาคไหนมากที่สุด ทำไมผู้ปกครองไม่ได้ยินเสียงของประชาชน ทำไมยังคงปล่อยให้ข้าราชการทำสิ่งที่เลวร้ายกับประชาชนได้ตลอดเวลา “ผมมองไม่เป็นประโยชน์ของตำรวจเลย” สิ่งที่อยากจะเห็นรัฐบาลชุดนี้ทำให้ประชาชน คือ เปลี่ยนแปลงเพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมและควมรวดเร็วในกระบวนการยุติธรรมเพิ่มขึ้น ตำรวจหรือองค์กรภาครัฐปรองดองกับประชาชนมากขึ้นจะปรองดองกับประชาชนได้อย่างไร
พ.ต.อ. วรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร อดีตผู้กำกับสถานีหลายสถานี รองผู้บัญชาการตำรวจจังหวัดชัยนาท กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานจเรตำรวจ กล่าวว่า ตำรวจเป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี ตำรวจไทยเดินสวนทางกับกระแสโลก ทั้งยังพัฒนาย้อนกลับไปสู่ระบบศักดินามากขึ้น ต้องการอำนาจและยศศักดิ์ แล้วทำให้ประชาชนเข้าถึงยาก อำนาจการสอบสวนทั้งหมดไปรวมศูนย์อยู่ที่ตำรวจ หัวหน้าพนักงานสอบสวน ซึ่งมักจะมาจากการซื้อตำแหน่ง การปฏิรูปตำรวจควรเป็นการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง ไม่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ “สอบปากคำ ทำเหมือนจริง แล้วค่อยเอาไปทิ้งภายหลัง” การร้องเรียนของประชาชนจะส่งผ่านไปที่ปลัดสำนักนายก ไม่มีการลงรายละเอียด ทำให้ตำรวจไทยขาดการตรวจสอบอย่างสิ้นเชิง
ร.ต.อ. ดร.วิเชียร ตันศิริคงคลประธานหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า "ปัจจุบันการทำงานของตำรวจเหมือนกับนาฬิกาเดินถอยหลัง ทั้งที่งานสอบสวน คือ กระดูกสันหลังของงานตำรวจ ต้นทางของกระบวนการยุติธรรม แต่กลับต้องไปทำงานรอง งานจราจร ปราบม๊อบ หรือตรวจคนเข้าเมือง ยิ่งพัฒนามากเท่าไร ยิ่งห่างเหินกับประชาชน หน่วยงานต่างๆ ที่ตั้งขึ้นมาทำให้เปิดปัญหาทับซ้อน แล้วทำให้ผลักภาระไปสู่ประชาชน ประเทศชาติต้องการตำรวจที่เป็นมืออาชีพ มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ความสามารถทางกฏหมาย มีการจัดการที่ทันสมัย แต่ปัจจุบันตำรวจถูกมองว่ามีอำนาจทั้งที่อยู่ในกฏหมายและนอกกฏหมาย เปรียบเสมือนต้นทางของปัญหา ปัจจุบันทั่วโลกมีปัญหาเกี่ยวกับตำรวจ จึงเกิดกระแสที่จะทำให้ต้องปฏิรูปตำรวจ 4 กระแส คือ 1)สิทธิมนุษยชน 2)ประชาธิปไตย 3)ใช้ Social Sanctions การถ่ายคลิปของนักข่าวพลเมือง 4)ประสิทธิภาพประสิทธิพล ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิรูปตำรวจทั่วโลก ยกเว้นเมืองไทยที่มีหลายปัจจัยที่ทำให้การปฏิรูปทำได้ยาก ดังนั้นองค์ความรู้ภาควิชาการ สื่อมวลชน องค์กรอิสระ จึงเป็นองค์กรต้องช่วยทำหน้าที่ให้ความรู้ และเป็นช่องทางให้กับประชาชนสื่อสารไปสู่ภาครัฐ ซึ่งหวังว่าจะสามารถปูทางไปสู่การปฏิรูปตำรวจในเร็ววันนี้ ”
ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน(ประเทศไทย) ขอทิ้งท้ายด้วยประโยคที่เคยได้มาตั้งแต่เด็ก และ ปรารถนาที่จะให้ยัง