Article
การแถลงรายงานผลสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทย(CSI)
โดย ACT โพสเมื่อ Aug 11,2017
การแถลงรายงานผลสำรวจ “ดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทย” (CSI) โดย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อ 10 สิงหาคม 2560
1. ดัชนีคอร์รัปชันปรับตัวลดลงเล็กน้อยจาก 55 คะแนนในการสำรวจคราวที่แล้ว เป็น 53 คะแนน ซึ่งแย่ลง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์เกินกว่า 50 คะแนน หรือ เกินครึ่ง หรือสอบผ่าน จึงยังไม่น่ากังวลว่ามีการถดถอยอย่างน่าวิตก รวมทั้งเป็นการประเมินที่ดีกว่ารัฐบาลที่ผ่านมาในรอบ 6 ปี ครึ่ง
2. ความรุนแรงของการจ่ายสินบนลดลง กล่าวคือ ประชาชนที่ตอบว่า “ลดลง” มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 48 เป็น 51 ประชาชนที่ตอบว่า “เพิ่มขึ้น” ก็มีจำนวนมากขึ้นเช่นกันจาก 19 เป็น 35 หรือกล่าวได้ว่า คนไม่จ่ายมีมากขึ้น แต่ขณะเยวกัน คนจ่ายก็จ่ายมากขึ้น ตัวเลขที่เปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากประชาชนที่เคยตอบแบบกลางๆ ว่า “เท่าเดิม” มีจำนวนลดลง
3. ในการสำรวจครั้งที่แล้ว อัตราสินบนเฉลี่ยอยู่ที่ 1 - 15% แต่คราวนี้ขยับเป็น 6 - 15% ขณะที่อัตรา 20 - 25% เริ่มปรากฎให้เห็น
4. ประชาชนเป็นห่วงว่าจะมีคอร์รัปชันมากขึ้นในอนาคต เหตุเพราะรัฐจะมีการลงทุนในเมกกะโปรเจคเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นแนวโน้มที่น่าวิตก
5. ประชาชนมองว่าสาเหตุสำคัญที่คอร์รัปชันเพิ่มขึ้นเพราะ ความไม่เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย ผู้เข้ามามีอำนาจขาดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ยาก กฎหมายเปิดช่องให้มีการใช้ดุลยพินิจสูง ความล่าช้ายุ่งยากของกฎหมายกฎระเบียบในการติดต่อราชการ
6. ประชาชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นต่อภาคส่วนหรือองค์กรต่างๆ ในการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยพบว่าป.ป.ช. ได้รับความเชื่อมั่นสูงสุดจากที่เคยสำรวจมา
7. โดยสรุป ดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชัน 4 หมวด มีคะแนนลดลง 3 หมวด คือ ด้านการป้องกัน การปราบปราม และ ปัญหาและความรุนแรงของคอร์รัปชัน คงมีด้านการสร้างจริยธรรมและจิตสำนึกเพียงด้านเดียวที่คะแนนสูงขึ้น
ข้อสังเกตุจากการสำรวจ
1. ข้อมูลที่เด่นชัดและน่าสนใจมากคือทัศนคติ ความตื่นตัวและความเข้าใจของภาคประชาชนต่อปัญหาคอร์รัปชันมีมากขึ้น ดังสะท้อนจากการตอบแบบสอบถามหลายๆ ประเด็นและสิ่งที่แสดงออกผ่านการตอบคำถามที่พบว่ามีการตอบแบบกลางๆ ลดน้อยลง เช่น ไม่แน่ใจ ไม่มีข้อมูล แต่ประชาชนเลือกตอบในแนว ใช่/ไม่ใช่ เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วยมาก จ่าย/ขึ้น ชัดเจนมากขึ้น
2. การที่กฎหมายและมาตรการในการแก้ปัญหาคอร์รัปชันของรัฐที่ประกาศต่อสาธารณะและที่ออกมาแล้ว แต่ยังมีผลในทางปฏิบัติน้อยมาก อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สังคมขาดความมั่นใจ
3. ผลการสำรวจนี้สอดคล้องกับ ผลการสำรวจ Global Corruption Barometer ที่จัดทำโดยTransparency International ซึ่งเป็นผู้จัดทำการสำรวจ CPI เช่นกัน
#ACTองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน
Follow LINE Official : https://goo.gl/uT7yjS
Follow Facebook Fanpage : https://goo.gl/HXgWVU
Follow IG : https://goo.gl/aARAzS
WebSite : http://www.anticorruption.in.th