Hot Topic!

''รพี''มั่นใจพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ

โดย ACT โพสเมื่อ Jul 05,2017

 - - สำนักข่าว ผู้จัดการรายวัน 360 องศา วันที่ 5/07/60 - -

"รพี" แจงยิบกลางรายการ "คุยคุ้ยหุ้น" เผย พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ" มีบทลงโทษที่จัดเจนเพียงพอต่อการกำกับดูแลการกระทำความผิดทุกรูปแบบ การตรวจสอบของ ก.ล.ต.เป็นไปอย่างเข้มข้น รัดกุม มุ่งระบุความผิดอย่างชัดเจน
          
นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ให้สัมภาษณ์ในรายการ "คุยคุ้ยหุ้น" ช่อง "นิวส์วัน"   ดำเนินรายการโดย "สุนันท์ ศรีจันทรา" ชี้แจง ขั้นตอนการบังคับใช้กกหมาย ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 12 ธันวาคม 2559 ทันต่อพฤติกรรม ความผิดต่างๆ ของผู้บริหารบริษัทจดทะเบีย (บจ.) หรือ การกระทำที่เข้าข่ายไซฟอนเงิน ปั่นราคาหลักทรัพย์ โดยเฉพาะการเพิ่มบทลงโทษทางแพ่ง ที่สามารถเรียกปรับได้สูงกว่ามูลค่าความเสียหาย 3-5 เท่า
          
"พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ มีบทบัญญัติเพียงพอที่จะควบคุม และยับยั้งไม่ให้เกิดพฤติกรรมกระทำผิดต่างๆ เพียงแต่ ก.ล.ต.มีขั้นตอนการดำเนินงานภายในที่เข้มงวด มีกลไกการดำเนินงานเป็นระบบชัดเจน รวมถึงมีการตรวจสอบกันเองในองค์กรเพื่อไม่ให้ใครคนใด นำอำนาจไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ขณะเดียวกันระหว่างการดำเนินงานเราก็เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาชี้แจงด้วย เพราะการที่ ก.ต.ล.จะกล่าวโทษใครถือเป็นเรื่องรุนแรง หากดำเนินการไม่รอบคอบแล้วพลาด ย่อมเป็นการทำลายชื่อเสียงของผผู้ถูกกล่าวหา  แต่หากตรวจสอบแล้วพบว่าผิดจริงเราก็ดำเนินการอย่างเด็จขาดมาโดยตลอด" นานรพี กล่าว
          
เลขาธิการ ก.ล.ต.ยอมรับว่าระหว่างการดำเนินงาน ทางหน่วยงานไม่สามารถเปิดเผยขั้นตอนการทำงานได้อย่างชัดเจน เนื่องจากพฤติกรรมความผิดแต่ละกรณีแตกต่างกัน รวมถึงมีหลายกรณีที่ไม่ปรากฏความผิดอย่าง "ชัดเจน" หากเปิดเผยการทำงานอาจส่งผลโดยตรงต่อการสืบค้นข้อเท็จจริง อย่างไรก็ตาม อยากให้นักลงทุนติดตามข่าวสาร และพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน
          
"อึดอัดทั้งสองฝ่าย คนมองว่า ก.ล.ต. ทำงานหรือเปล่า ขอเรียนว่าเราทำงานกันอย่างต่อเนื่อง แต่ระหว่างทางเราพูดอะไรไม่ได้เพราะจะกระทบเป็นวงกว้างโดยเฉพาะราคาหุ้น ทั้งนี้อยากให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาด้วยว่าการที่ผู้บริหารมีพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ก.ล.ต.สั่งให้ชี้แจงแล้ว ถ้อยคำที่ชี้แจงมานั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ บริษัทจดทะเบียนนั้นๆ ยังน่าลงทุนอยู่ไหม หากไม่น่าไว้วางใจก็ควรขายหุ้นออกไปก่อนที่จะได้รับความเสียหาย  หากไปดูการทำงานที่ผ่านมาของ ก.ต.ล.เราก็ไม่เคยเปิดเผย อะไรมากระหว่างการทำงาน แต่เมื่อผิดเราก็ดำเนินการอย่างเด็ดขาดทุกครั้ง" นายรพี กล่าว
          
พร้อมกันนี้ นายรพียืนยันว่าการเพิ่มบทลงโทษทางแพ่งเข้ามาระหว่างรอการพิจารณาคดีทางอาญานั้น เป็นกลไกเร่งรัดให้เกิดการลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างเป็น "รูปธรรม" ให้เร็วขึ้น  รวมถึงหากสามารถนำหลักฐานการดำเนินความผิดที่ ก.ล.ต.พิจารณาแล้วไป "ขึ้นบัญชีดำ" ไม่ให้ผู้กระทำผิดสามารถกลับมารับหน้าที่บริหารงานได้อีกต่อไป
          
"ต้องยอมรับว่าขั้นตอนการดำเนินงานทางกฎหมายนั้นยาวนานมาก และก็ไม่ได้หมายความว่าทุกกรณีจะสามารถขึ้นถึงกระบวนการทางศาลได้เสมอไป ดังนั้น หากเราสามารถเรียกร้องความเสียหายได้ก่อน และสามารถยับยั้งไม่ให้บุคคลที่ทำความผิดกลับเข้ามาบริหารงานได้อีกก็ถือเป็นการลดขั้นตอน ส่วนการทำสำนวณทางคดี ก.ล.ต.เราทำอย่างละเอียดทุกคดี หากมีความเห็นว่าสมควรส่งฟ้อง สำนวนข้อกล่าวหาที่ทำมาสามารถใช้ฟ้องได้ทันที ไม่ต้องกลับมาทำอะไรใหม่" นายรพี กล่าว.