Article
กฎใหม่ไขความลับข้อมูลโครงการก่อสร้างรัฐ
โดย ACT โพสเมื่อ Nov 30,-1
‘กฎใหม่ไขความลับข้อมูลโครงการก่อสร้างรัฐ'
นับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประเทศไทย จะบังคับใช้มาตรการความโปร่งใสในโครงการก่อสร้างของรัฐอย่างจริงจังแล้ว โดยบังคับตามกฎหมายให้หน่วยงานของรัฐทุกประเภท ซึ่งรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ ต้องเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างโครงการก่อสร้าง นับเป็นความก้าวหน้าขั้นสำคัญของการป้องกันการคอร์รัปชันในประเทศไทยเลยทีเดียว
มาตรการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐนี้ เป็นมาตรการสากลที่มีชื่อเรียกว่า Construction Sector Transparency Initiative หรือ CoST ซึ่งรัฐบาลอังกฤษได้สนับสนุนด้านวิชาการและทุนดำเนินงานเริ่มต้นบางส่วนให้รัฐบาลไทยนำ มาใช้ ตั้งแต่ปี 2556 โดยการผลักดันขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT ซึ่งรัฐบาลก็ตอบรับ ด้วยดีด้วยการเสนอชื่อหน่วยงานรัฐจำนวนหนึ่งที่กำลังมีโครงการ ก่อสร้างที่มีมูลค่าสูงมาก ให้เข้าอยู่ในมาตรการ CoST นี้ ตัวอย่าง แรกๆ ได้แก่ โครงการก่อสร้างขยายสนามบินสุวรรณภูมิ โดยหลักการของโครงการนี้ก็คือ การให้โครงการก่อสร้างที่เข้าร่วมเปิดเผยข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างนั้นๆ ตลอดระยะเวลาของโครงการก่อสร้าง ตั้งแต่กระบวนการจัดทำและนำเสนอโครงการ การเตรียมความพร้อมของโครงการ การจัดซื้อจัดจ้าง ช่วงการดำเนินการโครงการ และหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ ต่อสาธารณะ จำนวน 40 ชุดข้อมูล ซึ่งจะทำให้ผู้ตรวจสอบสามารถชี้ความสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดการคอร์รัปชันในโครงการนั้นๆ ได้
อย่างไรก็ตาม ในระยะเริ่มแรกของโครงการ ก็ยังมีอุปสรรคอยู่มาก เพราะหลายหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ ไม่เปิดเผยข้อมูลหรือเปิดเผยข้อมูลไม่ครบตามที่ระบุไว้ ทำให้การตรวจสอบไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ข้อมูลจากรายงานผลการดำเนินงานโครงการ CoST ในปี 2560 ชี้ว่าโดยเฉลี่ยโครงการ ต่างๆ เปิดเผยข้อมูลเพียง 24% ของรายการข้อมูลที่ระบุให้เปิดเผย หรือ คิดเป็นประมาณไม่ถึง 10 ชุดข้อมูล และโครงการที่เปิดน้อย ที่สุดเปิดข้อมูลเพียง 3 ข้อมูล ซึ่งคือชื่อหน่วยงานเจ้าของโครงการ ชื่อโครงการ และประเภทอุตสาหกรรมของโครงการนั้น เมื่อลองสุ่มตรวจสอบโครงการของรัฐวิสาหกิจที่เปิดข้อมูลเยอะที่สุด ยังพบว่ายังเปิดข้อมูลไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรายการที่ระบุให้เปิดไว้
อ่านมาถึงจุดนี้แล้ว ผู้อ่านหลายท่านอาจสงสัยว่า 40 ชุดข้อมูลที่ CoST ระบุให้เปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อสามารถป้องกันการคอร์รัปชันได้ คืออะไรบ้าง จึงขอนำเสนอโดยละเอียด ดังนี้ครับ
1. ชื่อหน่วยงานเจ้าของโครงการ
2. รายละเอียดยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ
3. ชื่อโครงการ
4. สถานที่ตั้งของโครงการ
5. วัตถุประสงค์โครงการ
6. รายละเอียดโครงการ
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ
8. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี)
9. ผลกระทบการเวนคืนที่ดิน(ถ้ามี)
10. รายละเอียดในการติดต่อเจ้าหน้าที่และหน่วยงานเจ้าของโครงการ
11. แหล่งเงินงบประมาณ
12. งบประมาณโครงการ
13. วันที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณโครงการ
14. ชื่อหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง
15. รายละเอียดในการติดต่อของหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง
16. ขอบเขตงาน (TOR)
17. วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง
18. ประเภทของสัญญา
19. สถานะปัจจุบันของสัญญา
20. จำนวนบริษัทที่เข้าร่วมประกวดราคา
21. ราคากลาง
22. หน่วยงานบริหารสัญญา
23. ชื่อสัญญาและเลขที่สัญญา
24. ชื่อบริษัทที่ได้สัญญา
25. มูลค่าของสัญญา
26. ขอบเขตงานตามสัญญา
27. วันที่ลงนามในสัญญา วันเริ่มต้นสัญญา และระยะเวลาการดำเนินการตามสัญญา
28. การเปลี่ยนแปลงมูลค่าของสัญญา
29. มูลค่าของสัญญาที่เปลี่ยนแปลงจากการผันผวนของค่าเงิน
30. การเปลี่ยนแปลงระยะเวลาดำเนินการตามสัญญา
31. การเปลี่ยนแปลงขอบเขตสัญญา
32. เหตุผลในการเปลี่ยนแปลงมูลค่าสัญญา
33. เหตุผลในการเปลี่ยนแปลงขอบเขตและระยะเวลาดำเนินการตามสัญญา
34. สถานะโครงการและความคืบหน้าของโครงการ
35. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการ
36. วันที่โครงการเสร็จสมบูรณ์
37. ขอบเขตงานเมื่อเสร็จสมบูรณ์
38. เหตุผลในการเปลี่ยนแปลงโครงการ
39. การตรวจสอบและรายงานการประเมินผลโครงการ
40. การจัดการข้อร้องเรียน
นอกจากข้อมูลพื้นฐาน 40 รายการนี้แล้ว ยังมีข้อมูลอื่นๆ อีก ที่ต้องเปิดเผยหากได้รับการร้องขอ เช่น รายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Project Brief or Assessment) รายงานการประเมินโครงการ) เอกสารประกวดราคา ผลประเมินการประกวดราคา และแบบและรายการประกอบแบบก่อสร้าง (Specifications and Drawings)
ต่อจากนี้ หลังจากที่มีประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต เรื่อง โครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับวัน ที่ 11 ต.ค. 2562 ออกมาแล้ว ก็หมายความว่า จากแต่เดิมที่เป็นการทำความตกลงร่วมกันว่าจะเปิดข้อมูลเท่านั้น ถูกเปลี่ยนสถานะเป็นการบังคับใช้ตามกฎหมายแล้ว ซึ่งหากหน่วยงานใด ไม่ปฏิบัติตาม อาจนำไปสู่การตรวจสอบพฤติกรรมที่ส่อไปในทาง ทุจริตหรืออาจนำไปสู่การทุจริตได้ ซึ่งมีโทษทั้งทางวินัยและอาญา
ดังนั้น หน่วยงานใดที่ยังไม่แน่ว่าโครงการที่ตนดูแลรับผิดชอบเข้าข่ายต้องเปิดเผยข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ต่อสาธารณะหรือไม่ ควรรีบไปอ่านรายละเอียดของประกาศฉบับดังกล่าว หรือหน่วยงานใดที่เชื่อมั่นและยึดมั่นในหลักการธรรมาภิบาลอยู่แล้ว ต้องการจะป้องกันการทุจริตในหน่วยงานของตน และเพื่อป้องกันตนเองจากการถูกผู้มีอำนาจ ทั้งหัวหน้าในหน่วยงานหรือฝ่ายการเมืองสั่งให้กระทำในทางที่เป็นทุจริต ก็สามารถเสนอขอเข้าโครงการ ความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST) นี้ได้ที่ คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังครับ
สำหรับภาคประชาชน และสื่อมวลชน ข่าวนี้คงเป็นที่น่ายินดีเป็นอันมาก เพราะต่อไปจะได้รู้กันเสียทีว่า ท่อระบายน้ำที่พังอยู่หน้าบ้านใครเป็นคนทำ หรือตึกด้านหลังบ้านสร้างหลายปี แล้วทำไมไม่เสร็จเสียที เพื่อให้ทุกคนได้เฝ้าระวัง ติดตามการใช้เงินภาษีของเราให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสุดท้ายสำหรับบริษัทเอกชนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยเฉพาะบริษัท หน้าใหม่และบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง การได้รับรู้ข้อมูล เหล่านี้ ซึ่งเดิมเป็นเรื่องลับเฉพาะสำหรับผู้ที่มีเส้นสายใน หน่วยงานแต่ละหน่วยงานเท่านั้น เป็นผลประโยชน์มหาศาล เพราะอาจสร้างโอก
ที่มา : แนวหน้า คอลัมน์ต่อต้านคอร์รัปชัน โดย รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค และดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค