Article
Anti-SLAPP Law
โดย โพสเมื่อ Mar 28,2017
Anti-SLAPP Law
ต่อไปนี้จะได้ยินคำว่า Anti-SLAPP Law บ่อยขึ้น ACT ขอรวบรวมข้อมูลและข่าวสารที่เป็นประโยชน์จากนักวิชาการ บทความ และ ข้อเขียนต่างๆมาให้คนไทยได้ทำความรู้จักกับคำนี้กันมากขึ้น ในภาษาอังกฤษมีคำบางคำที่ออกเสียงเหมือนกัน อย่างเช่น คำว่า Slap กับ SLAPP โดย สแลป(Slap) คำแรกหมายถึง "การตบ" แต่ สแลป(SLAPP) คำหลังย่อมาจาก Strategic Lawsuit Against Public Participation ที่แปลได้ว่า “การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน” คำสองคำนี้เกี่ยวโยงกันมากกว่าเสียงที่เหมือนกัน กล่าวคือ แสลป (SLAPP) เป็นการฟ้องคดีโดยมีจุดมุ่งหมายให้เสียงของการเรียกร้องสิทธิและการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นจริงต่อสาธารณะอ่อนแรงและเงียบลงไป หรืออาจจะเปรียบเปรยให้เห็นภาพว่า แสลป ก็คือการตบปากคนด้วยกฎหมาย เมื่อผู้มีอำนาจไม่อยากจะฟัง (หรือไม่อยากให้คนอื่นได้ฟัง)
หรือแปลให้ง่ายเข้าก็คือการฟ้องให้หุบปาก ซึ่งเข้ากันเหมาะเจาะกับตัวย่อ SLAPP ที่พ้องเสียงกับคำว่า slap อันแปลว่าตบผัวะพอดิบพอดี เพราะเอาเข้าจริง ใครโดนฟ้อง SLAPP ก็ไม่ต่างอะไรจากการโดนตบปากให้หยุดพูด
เขานิยามกันว่า SLAPP นี้คือ “การฟ้องคนหรือกลุ่มคนที่พูดหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นอันเป็นประโยชน์สาธารณะ โดยใช้กระบวนการทางศาลขัดขวางคำพูดหรือการกระทำของบุคคลเหล่านั้นไม่ให้ราบรื่น” ซึ่งนี่จะได้ผลเป็นทั้งการข่มขวัญ ผลาญเงินทอง ผลาญกำลังและเวลาของบุคคลเหล่านั้นไม่ให้เหลือมาใช้กับการถกเถียงสาธารณะต่อไปได้ และที่ร้ายที่สุดก็คือเป็นการ “เชือดไก่” ไม่ให้คนอื่นนึกอยากจะมีปากมีเสียงในประเด็นนั้นๆ หรือแม้แต่ในประเด็นประโยชน์สาธารณะอื่นๆ อีก
โดยปกติ การฟ้องคดีมีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ หรือเรียกร้องความเป็นธรรม และประชาชนทุกคนมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่จะฟ้องร้องผู้ที่ทำให้เราเสียหายได้ แต่ทว่า ปฏิบัติการตบปากด้วยกฎหมาย กลับมีจุดมุ่งหมายที่ต่างออกไป โดยการฟ้องคนในลักษณะที่เป็นสแลป ไม่ได้ต้องการความเป็นธรรม แต่ต้องการใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือหยุดกลุ่มคนหรือบุคคลที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านหรือวิพากษ์วิจารณ์ให้มีภาระทางกฎหมาย ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนพอสมควรในการต่อสู้คดี ทั้งนี้ ฐานความผิดที่นิยมใช้ส่วนมากก็คือ การฟ้องหมิ่นฐานประมาท แต่ในบางประเทศก็อาจจะนำกฎหมายอื่นๆ อย่างเช่น กฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงมาใช้ด้วย
หากใครที่เคยขึ้นโรงขึ้นศาลย่อมทราบดีว่า แม้จะไม่ได้กระทำความผิดเลยก็ตาม แต่ "ราคาที่ต้องจ่ายจนกว่าได้ความยุติธรรมมาไม่ใช่ราคาถูก" ไหนจะค่าเดินทาง ค่าเอกสาร รวมไปถึงค่าประกันตัว เรียกได้ว่ามีค่าใช้จ่ายเบี้ยบ้ายรายทางเต็มไปหมด และในค่าใชจ่ายเหล่านี้ สิ่งหนึ่งที่แสนสำคัญก็คือ "ค่าทนายความ" โดยเฉพาะถ้าผู้ที่ถูกฟ้องต้องการความมั่นใจว่า จะมีทนายความที่เปี่ยมด้วยความสามารถและทำงานอย่างเต็มที่ ราคาที่ต้องจ่ายก็อาจจะเพิ่มขึ้นไปอีก
โดยผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของสแลปก็มีอยู่หลายคดี อาทิ ในปี 2534 บริษัทแมคโดนัลด์ ฟ้องหมิ่นประมาทนักเคลื่อนไหวของกลุ่มกรีนพีช(Greenpeace) ในประเทศอังกฤษ เนื่องจากตีพิมพ์แผ่นพับว่า แมคโดนัลด์ผลิตอาหารโดยใช้แรงงานไม่เหมาะสม ขายอาหารที่ทำให้สุขภาพแย่ลง สนับสนุนการทำลายป่า รวมทั้งใช้การโฆษณาเจาะจงเพื่อจูงใจเด็กๆ ซึ่งการฟ้องคดีในครั้งนั้น นักเคลื่อนไหวของกรีนพีชต้องใช้เวลาถึง 7 ปี และสูญเสียเงินไปกว่า 481.5 ล้านบาท เพื่อต่อสู้ในชั้นศาล
ปัญหาอย่างหนึ่งที่ทำให้การแก้ปัญหาสแลปเป็นไปอย่างยากลำบากก็เนื่องมาจาก "ช่องโหว่ในกระบวนการยุติธรรม" ที่ไม่สามารถกลั่นกรองคดีก่อนจะขึ้นสู่ศาลได้ แม้ในบางประเทศจะมีกฎหมายช่วยเหลือ เช่น เปิดช่องให้จำเลยขอยุติการดำเนินคดีอย่างรวดเร็วและกำหนดภาระให้โจทก์ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายและค่าทนายให้กับจำเลย แต่วิธีการดังกล่าวก็ไม่สามารถอุดช่องโหว่ได้อย่างสมบูรณ์
อย่างในประเทศไทยเอง ก็มีกระบวนการ "ไต่สวนมูลฟ้อง" ก่อนที่ศาลจะรับฟ้อง และกำหนดให้บางกรณีคนแพ้คดีต้องจ่ายค่าทนายความ แต่ในทางปฏิบัติค่าทนายความที่ศาลกำหนดให้ฝ่ายแพ้คดีจ่าย ก็แทบจะไม่พอค่ารถของทนายความและค่าถ่ายเอกสารด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ดี สแลปไม่ได้มีความหมายจำกัดอยู่ที่การฟ้องหมิ่นประมาทเท่านั้น ในบางประเทศผู้มีอำนาจตระหนักดีว่า “เสรีภาพในการแสดงออก” เป็นศัตรูตัวสำคัญที่จะทำให้พวกเขาไม่สามารถดำรงอยู่ในอำนาจต่อไปได้นาน ดังนั้น ต้องจัดการผู้ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ด้วยข้อหาเกี่ยวกับความมั่นคง ยกตัวอย่าง การดำเนินคดีกับ ซูนาร์ นักวาดการ์ตูนเสียดสีการเมือง ที่ใช้ผลงานศิลปะวิพากษ์วิจารณ์ความไม่โปร่งใสของนายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัก แห่งมาเลเซีย
ซูนาร์ ถูกตั้งข้อหาจากทวิตเตอร์ 9 ข้อความ ทำให้เขามีโอกาสติดคุกนานถึง 43 ปี ตามกฎหมายป้องกันการปลุกระดม (the Sedition Act) ทั้งที่ ผลงานเหล่านั้นอาจจะเรียกได้ว่าเป็นประโยชน์สาธารณะ เพราะพยายามจะตอกย้ำปัญหาของรัฐบาล
แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ บทบัญญัติของกฎหมายป้องกันการปลุกระดม (the Sedition Act) กลับเต็มไปด้วยข้อความที่คลุมเครือและตีความได้กว้าง อย่างเช่น การกระทำที่เป็น "การยุยงปลุกระดม" "การกระตุ้นให้เกิดความไม่ชอบ" หรือ "ทำให้เกิดการดูหมิ่นหรือเกลียดชัง" ต่อรัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศ ซึ่งบทนิยามเช่นนี้ เปิดช่องให้รัฐสามารถเอาผิดใครก็ได้ที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล และที่แย่ไปกว่านั้น กฎหมายยังเปิดช่องให้พนักงานอัยการไม่จำเป็นต้องพิสูจน์เจตนาของผู้กระทำความผิด ซึ่งถือเป็นการบีบผู้ถูกฟ้องคดีที่มีเจตนาที่บริสุทธิ์ต่อสู้คดีได้ยากขึ้น
จะเห็นได้ว่า ปัญหาอีกประการที่ทำให้เกิดสแลป ก็คือ ความบกพร่องในการเขียนกฎหมายที่มีลักษณะคลุมเครือ ตีความได้กว้าง จนประชาชนทั่วไปไม่สามารถรับรู้ได้ว่าขอบเขตในการแสดงออกอยู่ตรงไหน และสุดท้ายกฎหมายก็ถูกตีความมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการปิดปากประชาชน
สำหรับประเทศไทยในตอนนี้ ยังไม่มีกฎหมายหรือกลไกเพื่อป้องกันการฟ้องร้องในลักษณะที่เป็นสแลป จึงได้แต่หวังว่า ประชาชนจะเป็นส่วนหนึ่งในการจับตาและตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมเพื่อป้องกันไม่ให้ใครต้องตกเป็นเหยื่อของผู้มีอำนาจ
ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมอีกว่า ผลกระทบของสแลปไม่ได้จำกัดอยู่ที่คนถูกดำเนินคดี แต่ยังมีผลรวมถึง "พวกเรา" ซึ่งเป็นประชาชนทุกคน เพราะเมื่อมีคนถูกดำเนินคดีแบบสแลป ก็หมายความว่า กำลังมีการปิดกั้นข้อมูลบางอย่างที่ผู้มีอำนาจไม่อยากให้เราได้ยิน และไม่อยากให้พวกเรารู้ทันอีกด้วย ...
: เนื้อหาต้นฉบับจาก ilaw.or.th/node/4244
ดังนั้น สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. ได้จัดเสวนาวิชาการขึ้นเพื่อ เสนอ ขีดเส้นแบ่ง ‘ฟ้องร้องหมิ่นประมาท’ ระหว่างปกป้องชื่อเสียงส่วนตัว กับรักษาประโยชน์ส่วนรวม ถกทบทวนเจตนารมณ์แท้จริงกฎหมาย ป้องเหตุผู้มีอำนาจใช้เป็นเครื่องมือสกัดกั้นตรวจสอบทุจริต ชี้หลายคดี พ่วงความผิด พ.ร.บ. คอมฯ เพิ่มภาระและโทษหนักปิดปากผู้เปิดโปง เสนอหลักการแก้ไข โทษหมิ่นไม่เป็นอาญา ให้เกียรติบุคคลยังคงได้รับการคุ้มครอง แต่การตรวจสอบประเด็นสาธารณะยังต้องเดินหน้าต่อไปได้
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดเสวนา “การฟ้องหมิ่นประมาท: จุดสมดุลระหว่างประโยชน์ส่วนตัวและประโยชน์ส่วนรวม” โดยมีภาคประชาสังคม นักวิชาการ นักกฎหมายและสื่อ ร่วมเสนอกรอบแนวคิด ทบทวนกรณีตัวอย่าง การใช้กฎหมายฟ้องหมิ่นประมาทบุคคลที่เปิดโปง วิจารณ์การทำงานของรัฐและผู้ใช้อำนาจรัฐ จนเป็นเหตุให้ผู้นั้นกังวลใจ ระแวงและไม่กล้าทำหน้าที่ตรวจสอบอีกต่อไป หรือ เรียกว่า Strategic Lawsuit against Public Participation (SLAPP)
ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT ประธานกล่าวเปิดงาน ระบุ การจัดเสวนาครั้งนี้ มีเป้าหมายหาข้อสรุปแก้ไขกฎระเบียบที่เอื้อต่อการฟ้องหมิ่นประมาทเพื่อยับยั้งการตรวจสอบจากภาคประชาชน ที่ช่วยทำให้เส้นแบ่งจุดสมดุลระหว่างประโยชน์ส่วนตัวและประโยชน์ส่วนรวมชัดเจนขึ้น
หนึ่งในกรณีตัวอย่างจากวงเสวนา คือ คดีสำนักข่าว “ภูเก็ตหวาน” ที่ภาครัฐใช้กฎหมายหมิ่นประมาทฟ้องร้องสื่อมวลชน หลังรายงานข้อมูลว่า “กองกำลังทางเรือ” มีส่วนได้รับผลประโยชน์จากกระบวนค้ามนุษย์โรฮิงญา ซึ่ง นายอานนท์ ชวาลาวัณย์ หัวหน้าศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ iLaw ระบุว่า กรณีนี้มีความน่าสนใจ เนื่องจากเป็นหนึ่งในคดีหมิ่นทางอาญาที่พ่วง พ.ร.บ.คอมฯ ที่แม้ว่าศาลยกฟ้องแล้วก็ตาม แต่ระหว่างการฟ้องร้องจำเลยก็ได้รับผลกระทบ มีความเสี่ยงถูกควบคุมตัวมาบีบคั้น ต้องหาเงินเพื่อประกันตัว ไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ อีกทั้งทำให้เกิดความกลัวแก่ผู้ที่จะมาทำหน้าที่นักข่าวพลเมือง
ด้าน รศ. ดร. ปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยกแนวคิดการขีดเส้นแบ่งความเหมาะสมของการฟ้องหมิ่นประมาทผ่าน “สมการป้องกันการฟ้องหมิ่นประมาทเพื่อปิดปาก” ที่บอกว่า เสรีภาพในการแสดงออกมีค่าเท่ากับสิทธิในการปกป้องชื่อเสียงเกียรติยศ แต่เสรีภาพในการแสดงออกบวกกับประโยชน์สาธารณะนั้นมีค่ามากกว่าสิทธิในการปกป้องชื่อเสียงเกียรติยศ พูดง่าย ๆ ว่า การวิพากษ์วิจารณ์ที่เกี่ยวกับเรื่องประโยชน์สาธารณะนั้นควรมาก่อนการเสื่อมเสียชื่อเสียงของคน ๆ หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการวิพากษ์วิจารณ์นั้น
กรณีต่างประเทศมีหลักว่า หากการแสดงออกกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม (public order) อย่างการวิจารณ์บุคคลในเรื่องเชื้อชาติ หรือการนำเสนอประเด็นที่ทำให้เกิดการบานปลายจนสังคมแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย จะถือเป็นโทษทางอาญา แต่หากเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ที่ก้าวล่วงสิทธิส่วนบุคคล บางประเทศจะมีโทษทางแพ่งเท่านั้น
“บ้านเราฟ้องหมิ่นประมาททางอาญาถูกนำมาใช้มาก เพราะถูกและดีสำหรับผู้ฟ้องในแง่ที่ว่าไม่มีค่าขึ้นศาล และมีคุกบีบให้ผู้ถูกฟ้องมาจ่ายค่าเสียหาย ถ้าฟ้องทางแพ่งไม่มีใครกลัว เพราะไม่มีก็ไม่จ่าย แต่การฟ้องอาญาไม่มีประโยชน์กับสาธารณะเลย เพราะทำคนไม่กล้าติดตามเรื่องสาธารณะ และรัฐก็ต้องมาจ่ายแพงกว่ามาก…ถ้า SLAPP เยอะ ๆ ก็เท่ากับขัดขวางการแสดงความเห็นในเรื่องสาธารณะ ทำให้กิจการสาธารณะไม่โปร่งใส” รศ. ดร. ปกป้อง ศรีสนิท กล่าว
เช่นเดียวกับผู้ร่วมเวทีหลายรายเห็นตรงกันว่า การลงโทษทางอาญาต่อกรณีนี้ไม่ใช่การแก้ปัญหา ดังที่ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. เห็นว่า การทำให้ติดคุก ไม่ได้ทำให้ชื่อเสียงของผู้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ดีขึ้น ทางออกคือ การใช้สิทธิโต้แย้ง แก้ไขข้อเท็จจริงนั้น ๆ โดยเฉพาะหากเกิดกับเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งก็ต้องมีความอดทนต่อเสียงวิจารณ์และการตรวจสอบ เพราะเป็นราคาที่ผู้มีอำนาจต้องจ่าย
นายไพโรจน์ พลเพชร นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและอดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เห็นเช่นเดียวกันว่า การฟ้องหมิ่นประมาทต้องไม่มีโทษทางอาญา หรือ แก้กฎหมายให้ชัดเจนว่า การติชมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องไม่มีโทษทางอาญาอีกต่อไป และเป็นเรื่องยอมความกันได้ เพื่อคุ้มครองสิทธิการวิจารณ์นโยบายรัฐ ให้ประชาชนไม่กลัวการถูกปิดปาก
ส่วนกรณีการฟ้องหมิ่นทางอาญาพ่วงความผิดตามมาตรา 14 ของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 หรือ พ.ร.บ. คอมฯ ได้สร้างภาระและความผิดทวีคูณต่อผู้ถูกฟ้องนั้น ดร. จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ย้ำว่า การฟ้องหมิ่นประมาทไม่มีความจำเป็นต้องพ่วงความผิด พ.ร.บ. คอมฯ เพราะซ้ำซ้อนมาตรา 328 ของประมวลกฎหมายอาญา ที่กล่าวถึงการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา และเจตนารมณ์พื้นฐาน พ.ร.บ. คอมฯ มีไว้เพื่อเอาผิดกับการทำข้อมูลปลอม เทียบเคียงกับเอกสารปลอมที่อยู่นอกระบบคอมพิวเตอร์ แต่ที่ผู้ฟ้องนิยมพ่วง พ.ร.บ.คอมฯ เพราะทำให้คดีหมิ่นประมาทเป็นเรื่องยอมความไม่ได้
นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอิศรา สะท้อนปัญหาเดียวกันพร้อมให้ข้อเสนอแนะ ในฐานะสื่อมวลชนและเคยถูกฟ้องคดีหมิ่นประมาทว่า “การใช้ พ.ร.บ. คอมฯ เปราะบางมาก โดยเฉพาะ มาตรา 16 ที่มีถ้อยคำเกือบเหมือน มาตรา 326 ประมวลกฎหมายอาญาแต่ที่น่ากลัวคือ การเอามาโยงความผิดอื่น ๆ ได้หมด อีกหน่อยจะแย่กว่านี้ ทางแก้คือ พ.ร.บ. คอมฯ ต้องมีโทษไม่หนักเกินกว่ากฎหมายทั่วไป”
ผศ.ดร. พิรงรอง รามสูต อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่าสิ่งที่น่าห่วงคือ ภาวะคุกคามสื่อที่ยังมีอยู่ แม้ภูมิทัศน์สื่อจะเปลี่ยนไปสู่ออนไลน์ที่เปิดกว้างสำหรับเสรีภาพในการแสดงความเห็นแล้วก็ตาม ผลวิจัยของตนเองพบว่า ผู้ให้บริการเนื้อหาบนสื่อออนไลน์ ร้อยละ 80-90 ตัดสินใจเซ็นเซอร์เนื้อหา ด้วยเกรงว่าจะมีความผิด 3 กรณีเรียงตามลำดับ คือ ความผิดภายใต้ พ.ร.บ. คอมฯ ความผิดหมิ่นประมาท และการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งจะทำให้เสียเงินและเวลาไปกับการต่อสู้คดีความ ซึ่งการเซ็นเซอร์ตัวเองของสื่อก็คือการเซ็นเซอร์ไม่ให้สาธารณะเข้าถึงและรับรู้ปัญหาความไม่ชอบมาพากลต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน
สำหรับข้อเสนอจากวงเสวนาเพื่อทำให้การขีดเส้นแบ่งชัดขึ้น รศ. ดร. ปกป้อง ศรีสนิท เสนอว่า ไทยไม่จำเป็นต้องมีกฎหมาย เพื่อป้องกันการฟ้องร้องหมิ่นประมาทเพื่อปิดปากหรือ กฎหมาย Anti-SLAPP ก็ได้ เพราะกฎหมายที่มีอยู่ก็สามารถใช้แก้ปัญหาได้ โดยเฉพาะกฎหมายอาญา มาตรา 329 ที่เปิดช่องให้แสดงความเห็นในกิจการสาธารณะได้ อีกทั้งยังสามารถใช้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 25 ให้ศาลชี้ขาดยุติคดีได้ หากศาลเห็นว่าไม่ได้หมิ่นประมาท และให้จ่ายค่าสินไหมทดแทนคนถูกฟ้อง ส่วนที่ควรปรับแก้คือ มาตรา 423 คดีแพ่ง เป็นว่า “ผู้ใดกล่าวข้อความแสดงความเห็นในเรื่องสาธารณะ ไม่ต้องรับผิดเสียค่าสินไหมทดแทน”
อย่างไรก็ตาม นายประสงค์ เห็นว่า หากแก้ไขกฎหมายใด ๆ ไม่ได้ ศาลก็ต้องออกแนวปฏิบัติการไต่สวนที่ชัดเจน มิเช่นนั้น หากศาลชั้นต้นยกฟ้องคดีแล้ว แต่เมื่อเข้าสู่ขั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์กลับสั่งไต่สวนใหม่ ดังที่ตนเคยเจอ ทำให้คดีความยืดเยื้อออกไปอีกและเป็นภาระผู้ถูกฟ้อง
ด้านนางสาวรสนา โตสิตระกูลจากเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทยซึ่งเคยถูกฟ้องหมิ่นประมาทสมัยที่เคยเคลื่อนไหวตรวจสอบคดีทุจริตยาและการแปรรูป กฟผ.ได้ถอดบทเรียนกรณีของตนว่า การเคลื่อนไหวของตนก็เหมือนการทดลองเครื่องมือทางกฎหมาย ที่ทุกคนมีส่วนใช้ได้ แต่ที่ผ่านมากลับถูกใช้โดยฝ่ายบริหารเพื่อฟ้องปิดปากประชาชน เป็นการต่อสู้ที่ไม่เท่าเทียม เพราะเป็นการใช้ทรัพยากรส่วนรวมมาฟ้อง เช่นเดียวกับนายไพโรจน์ ที่ย้ำว่า “การฟ้องหมิ่นบุคคล ก็ต้องสู้กันด้วยบุคคล อย่าใช้กลไกของรัฐเพราะผู้ฟ้องกำลังใช้เครื่องมือรัฐในเรื่องส่วนบุคคล”
ก่อนจบการเสวนา ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ ทีดีอาร์ไอ กล่าวเสริมว่า “กระบวนการคดีความใด ๆ พื้นฐานสำคัญอีกประการคือ ความรวดเร็ว เพราะกระบวนการยุติธรรมที่ยาวนาน ก็คือ อยุติธรรม”
“การเสวนานี้ ผู้ร่วมเวทีได้พยายามเสนอแนวทางขีดเส้นแบ่งการฟ้องร้องหมิ่น เพื่อประโยชน์ส่วนตัวและประโยชน์ส่วนรวมให้ชัดขึ้นแล้ว โดยต้องกระบวนการพิจารณาต้องยึดหลักการ แยกผลกระทบต่อเรื่องส่วนตัวกับสาธารณะออกจากกัน แต่ถ้าเส้นไม่ชัดเจนก็จะขึ้นกับดุลยพินิจผู้มีอำนาจพิจารณา ก็จะเป็นช่องให้มีการใช้อิทธิพลเข้ามาได้ ทั้งนี้ต้องคิดเป็นวงจร ต้องช่วยผู้ถูกคุกคาม เพื่อให้การตรวจสอบคอร์รัปชันเดินต่อไปได้” ดร.เดือนเด่น ให้ข้อคิดเห็นทิ้งท้าย
เนื้อหาต้นฉบับจาก
นอกจากนี้ยังมีกรอบแนวคิดจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ปกป้อง ศรีสนิท จาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอ กรอบแนวคิดของกฎหมายป้องกันการฟ้องหมิ่นประมาทเพื่อ “ปิดปาก” (Anti-SLAPP Law) ดังนี้
1.ความสัมพันธ์ระหว่างเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิด สิทธิในชื่อเสียงเกียรติยศ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน 2.กฎหมายหมิ่นประมาทในต่างประเทศ 3.กฎหมายหมิ่นประมาทในประเทศไทย 4.การฟ้องคดีเพื่อปิดปากการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ (SLAPP) 5.กฎหมายป้องกันการฟ้องคดีเพื่อปิดปาก (Anti-SLAPP law) 6.SLAPP ในประเทศไทย และ ข้อเสนอแนะ 1.ความสัมพันธ์ระหว่างเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิด สิทธิในชื่อเสียงเกียรติยศ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน
1.ความสัมพันธ์ระหว่างเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิด สิทธิในชื่อเสียงเกียรติยศ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน
2.กฎหมายหมิ่นประมาทในต่างประเทศ
3.กฎหมายหมิ่นประมาทในประเทศไทย
4.การฟ้องคดีเพื่อปิดปากการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ (SLAPP)
5.กฎหมายป้องกันการฟ้องคดีเพื่อปิดปาก (Anti-SLAPP law)
6.SLAPP ในประเทศไทย และ ข้อเสนอแนะ
Freedom of Expression
1.เสรีภาพในการแสดงออกที่ไปลุกล้ำความสงบเรียบร้อยจะถูกลงโทษทางอาญา
- ฝรั่งเศสลงโทษการหมิ่นประมาทคนธรรมดาหรือกลุ่มคนโดยมีเหตุจากเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนาเพศ ความพิการของผู้เสียหาย มีโทษจาคุก 1 ปี และปรับ 45,000 ยูโร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 32 วรรค 2 และ 3 ตามรัฐบัญญัติฉบับลงวันที่ 29 กรกฎาคม 1881 เกี่ยวกับเสรีภาพของสื่อมวลชน (Loi du 29 juillet 1881 sur la liberté de la presse)
- อังกฤษ ลงโทษอาญาหมิ่นประมาทที่ทาให้สังคมแตกแยก (Breach of peace) 5
2. เสรีภาพในการแสดงออกไปลุกล้าสิทธิในชื่อเสียงเกียรติยศจะเป็นความรับผิดทางแพ่ง หรือ อาญา แล้วแต่บริบทแต่ละประเทศ
-เป็นความรับผิดทางแพ่ง เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป
-เป็นทั้งความรับผิดทางแพ่งและอาญา เช่น ไทย
2. กฎหมายหมิ่นประมาทในต่างประเทศ
• สหภาพยุโรปจะมีแนวทางยกเลิกความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาท (decriminalization of defamation) ด้วยปรัชญาที่ว่า
• สหภาพยุโรปจะมีแนวทางยกเลิกความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาท (decriminalization of defamation) ด้วยปรัชญาที่ว่า
“ที่ใดก็ตามไม่มีเสรีภาพของการแสดงออกที่แท้จริง ที่นั่นไม่มีประชาธิปไตยที่แท้จริง” (where there is no real freedom of expression, there can be no real democracy)
ข้อเรียกร้องของรัฐสภายุโรป Parliamentary Assembly, Council of Europe, Resolution 1577 (2007) number 17
- ให้รัฐสมาชิกยกเลิกการจาคุกผู้กระทาความผิดฐานหมิ่นประมาทในทันที
- กำหนดความผิดทางอาญาหมิ่นประมาทกับการกระทาที่เป็นการยุยง (incitement) ต่อสาธารณชนให้กระทาความรุนแรง ให้เกลียดชัง ให้เลือกปฏิบัติ หรือ ข่มขู่ผู้อื่นหรือกลุ่มบุคคล โดยเหตุผลของความแตกต่างในเชื้อชาติ สีผิว ศาสนา สัญชาติ หรือชาติพันธ์
- ค่าเสียหายในคดีหมิ่นประมาทต้องไม่สูงเกินส่วน
- องค์กรสื่อต้องจัดทากระบวนการควบคุมจรรยาบรรณ
3. กฎหมายหมิ่นประมาทในประเทศไทย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 423 “ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทามาหาได้ หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้
ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้นหาทาให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่”
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทาให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทาความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทาให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทาโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทาการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทาต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท”
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 “ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
(1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
(2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
(3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทา หรือ
(4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดาเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท”
4. การฟ้องคดีเพื่อปิดปากการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ (SLAPP)
• การดาเนินคดีเพื่อยับยั้งการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ
Strategic Lawsuits Against Public Participation หมายถึง การดาเนินคดีเพื่อยับยั้งการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีหรือ การโต้เถียงโดยมีจุดหมายเพื่อต่อสู้กับบุคคลที่พูดหรือแสดงความเห็นต่อรัฐบาลหรือเรื่องประโยชน์สาธารณะ
• SLAPP ถูกนามาใช้เพื่อปิดปากและข่มขู่การวิพากษ์วิจารณ์โดยการบังคับให้คนที่พูดหรือแสดงความเห็นในเรื่องสาธารณะจะต้องใช้เงินมหาศาลในการต่อสู้กับข้อกล่าวหา โดยผู้ที่ดาเนินคดีไม่ได้มีเจตนาที่จะร้องขอความยุติธรรม แต่ดาเนินคดีเพียงเพื่อข่มขู่บุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับตนหรือกิจการที่ตนได้กระทา ทาให้ผู้ใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ถูกดาเนินคดีจะต้องสูญเสียเงินในการต่อสู้คดี
• ถูกใช้โดยบริษัทใหญ่ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกตรวจสอบร้องเรียน
• SLAPP มักจะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิผลเพราะเหตุว่าการต่อสู้คดี SLAPP ต้องใช้เวลานานและสูญเสียเงินจานวนมาก ทาให้คนที่ถูกดาเนินคดี SLAPP ที่แสดงความคิดเห็นในเรื่องสาธารณะหรือตรวจสอบการดาเนินกิจการสาธารณะ มักจะล้มเลิกการแสดงความคิดเห็นและเลิกติดตามตรวจสอบ หรือ ประนีประนอมยอมความ ขออภัย และแก้ไขถ้อยคาที่ตนเองเคยพูดไว้
• การปล่อยให้มี SLAPP เกิดขึ้นจะขัดขวางคุณค่าของการสนับสนุน ส่งเสริม คุ้มครอง และเปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นในเรื่องสาธารณะอย่างอิสระเพื่อทาให้รัฐบาลและกิจการสาธารณะเกิดความโปร่งใส
5. กฎหมายป้องกันการฟ้องคดีเพื่อปิดปาก (Anti-SLAPP law)
Anti-SLAPP Law ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของรัฐแคลิฟอร์เนีย มาตรา 425.16
1. ฝ่ายนิติบัญญัติเห็นว่า เป็นเรื่องของประโยชน์สาธารณะที่จะสนับสนุนการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมดังกล่าวไม่ควรจะถูกระงับโดยการดาเนินคดีทางศาลแบบบิดเบือน
2 ผู้ถูกฟ้องคดีเพราะสาเหตุจากการใช้เสรีภาพในการพูดตามรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาหรือรัฐธรรมนูญแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียสามารถยื่นคาขอพิเศษเพื่อยุติคดี (special motion to strike)
3. หากศาลเห็นว่าคาฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับการใช้เสรีภาพในการพูดของจาเลยตามรัฐธรรมนูญและไม่มีความเป็นไปได้ที่จะชนะคดี ศาลจะสั่งยกฟ้องโจทก์และสั่งให้โจทก์จ่ายค่าใช้จ่ายและค่าทนายความให้กับจาเลย
4. หากศาลเห็นว่าคาฟ้องโจทก์มีความเป็นไปได้ที่จะชนะคดี ศาลจะสั่งดาเนินคดีต่อไป
Anti-SLAPP ของรัฐแคลิฟอร์เนียไม่ได้ห้ามโจทก์ฟ้องคดีเพียงเพื่อยับยั้งการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ แต่กฎหมายได้กาหนดมาตรฐานพิเศษเพื่อรักษาไว้ซึ่งประโยชน์สาธารณะ กล่าวคือ การเปิดช่องให้จาเลยขอยุติการดาเนินคดีอย่างรวดเร็ว และการกาหนดภาระให้โจทก์ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายและค่าทนายความให้กับจาเลย
6.SLAPP ในประเทศไทย และ ข้อเสนอแนะ
โจทย์
• ทำอย่างไรจะทำให้ SLAPP ลดน้อยลงในประเทศไทย โดยกระบวนการทางกฎหมาย ???
ข้อเสนอแนะทางคดีแพ่ง
1. เพิ่มข้อความต่อไปนี้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 423 “ผู้ใดกล่าวข้อความ แสดงความคิดเห็น หรือไขข่าวแพร่หลายโดยสุจริตในกิจการสาธารณะ ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน”
2. เมื่อบุคคลใดถูกดาเนินคดีแพ่งเพราะเหตุ SLAPP ให้ยื่นคาขอต่อศาลเพื่อให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อกฎหมายเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 25 โดยไม่ต้องพิจารณาสืบพยาน เพื่อให้คดีเสร็จสิ้นไปจากศาลโดยไม่เนิ่นช้า
ข้อเสนอแนะทางคดีอาญา
• ศาลที่ทาการไต่สวนมูลฟ้องข้อหาหมิ่นประมาท ควรตั้งประเด็นเรื่อง “การติชมด้วยความเป็นธรรมฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329(3)” หากเป็นเรื่องการใช้เสรีภาพในการติดตามตรวจสอบกิจการสาธารณะ ศาลน่าจะยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเลย
ดาวน์โหลด บทความได้ที่ : https://goo.gl/HuYh0u
อ่านเพิ่มเติม
SLAPP…ตบปากให้หยุดพูด thaipublica.org/2013/10/strategic-litigation-against-public-participation/
SLAPP…ตบปากให้หยุดพูด (2) thaipublica.org/2013/10/slapp-2/