Anti-Corruption Information

วงจรคอร์รัปชัน

โดย ACT โพสเมื่อ Mar 17,2017

 วงจรของคอร์รัปชัน

         วันที่ 9 ธันวาคม ของทุกปี ถือเป็นวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล ที่ประชาชนทั่วทุกประเทศต่างสนใจและให้ความสำคัญ องค์กรความโปร่งใสสากล (Transparency International TI ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1993) ได้ให้ความหมายของคำว่า “คอร์รัปชัน” (Corruption) ไว้หมายถึง การใช้อำนาจที่ได้มาโดยหน้าที่ในการหาประโยชน์ส่วนตัว หรือ การทุจริตโดยใช้หรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่ อำนาจและอิทธิพลที่ตนมีอยู่ เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและหรือผู้อื่น โดยองค์กรความโปร่งใสสากลได้ระบุถึงกรณีต่างๆที่จะสามารถเกิดขึ้นในการคอร์รัปชันดังนี้

ปัญหาการคอร์รัปชัน (Corruption) เป็นปัญหาที่รุมแรงปัญหาหนึ่งของการเมือง การบริหารของไทย และยังคงเป็นปัญหาที่สืบเนื่องมาช้านาน จนถึงปัจจุบัน และนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น 

คอร์รัปชัน หมายถึง ความผิดที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา อันได้แก่ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ, ความผิดที่เกี่ยวกับความยุติธรรม และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการบุติธรรม ซึ่งกล่าวง่ายๆ คือ การกระทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรชอบได้ด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เช่น 
1. การเบียดบังทรัพย์ของทางราชการเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต 
2. ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ 
3. การบอกว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์แก่เจ้าพนักงาน 

ประเภทของคอร์รัปชัน
มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ 
1. การคอร์รัปชันขนาดเล็กน้อย (petty corruption) คือ การรับเงินที่ไม่ชอบธรรม หรือไม่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นจำนวนเงินที่ไม่มากนัก เพื่อดำเนินการบางอย่างให้กับผู้ที่ให้เงิน 
2. การคอร์รัปชันขนาดใหญ่ (big corruption) ซึ่งมักเป็นการคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่ระดับสูง ที่รับเงินในรูปแบบของสินบนเป็นเงินจำนวนสูง และโครงการใหญ่ๆเช่น บริษัทต่างๆ 
3. การให้ของขวัญ (gift) เป็นการคอร์รัปชันอีกประเภทหนึ่ง เป็นการให้ตอบแทนในรูปแบบสิ่งของ หรือการให้ตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ เช่น การเชิญไปรับประทามอาหาร ซึ่งเป็นการพยายามสร้างความสัมพันธ์อันใกล้ชิด 

สาเหตุของคอร์รัปชัน 
1. คนในสังคมส่วนใหญ่ นับถือความร่ำรวย ย่อมเป็นแรงจูงใจในการแสวงหาเงินทอง 
2. ค่านิยมแบบนิยมพวกพ้องและเครือญาติ ความสัมพันธ์ในเชิงผลประโยชน์ 
3. ระบบอุปถัมภ์หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์กับลูกน้อง สร้างลูกน้องไว้ช่วยเหลือตนในเรื่องต่าง ๆ 
4. ระบบการควบคุมและตรวจสอบที่ขาดประสิทธิภาพ 
5. สภาพทางการเมืองที่มีการแข่งขันอย่างเข้มข้น เพื่อช่วงชิงตำแหน่งทางการเมืองและผลประโยชน์ 

รูปแบบของการคอร์รัปชัน 
1. การทุจริตในการซื้อจัดจ้าง การทุจริตในเรื่องเหล่านี้มีตั้งแต่การเรียกรับเงินสินบน ค่านายหน้า หรือการตอบแทนในรูปแบบต่างๆ ในการอนุมัติคำร้องเพื่อดำเนินกิจการต่าง ๆ 
2. การทุจริตโดยการยักยอกทรัพย์ ของทางราชการหรือการทุจริตในการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่ารักษาพยาบาล และค่าเช่าบ้าน เช่น การใช้พาหนะของราชการ โดยเบิกค่าพาหนะ หรือการเบิกเบี้ยเลี้ยงเกินวันเวลาที่ปฏิบัติจริง หรือ การเบิกค่าเช่าบ้าน แต่ไม่ได้เช่าบ้านจริง 
3. การทุจริตโดยการเรียกรับเงินหรือผลประโยชน์อื่นในการแต่งตั้งข้าราชการ ในการเลื่อนตำแหน่งหรือการโยกย้ายไปในพื้นที่ ที่อยากไป โดยการให้ค่าตอบแทน หรือเรียกว่า .การซื้อ” 
4. การซื้อขายเสียงและการให้ผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆในการเลือกตั้ง การทุจริตเช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการคอร์รัปชันทางการเมือง เช่นการให้เงิน สิ่งของ แก่หัวคะแนนเสียง
แหล่งข้อมูล:ปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบัน (Current Political Issues) ฉบับปรับปรุง JQ 1741 41ป (ห้องสมุด มฟล.)

 อันตรายของอาชญากรรม 

         นักวิชาการถือว่า คอร์รัปชัน เป็น อาชญากรรมคอปกขาว (white collar crime) ซึ่งหมายถึง การกระทำผิดของบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งหน้าที่การงาน มีอำนาจ และได้ใช้ตำแหน่งและอำนาจที่ตนเองดำรงอยู่ เพื่อแสวงประโยชน์ในทางมิชอบให้แก่ตนและพวกพ้อง ซึ่งผลประโยชน์อาจจะอยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น เป็นเงิน เป็นสิ่งของ เป็นการกระทำที่เอื้อประโยชน์ให้สามารถแปรรูปได้ เช่น ความสะดวกสบายที่มีคนมาบริการให้ในลักษณะที่เรียกว่า การทุจริตคอร์รัปชัน 

         อาชญากรรม เหล่านี้ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องหรือควบคุมชีวิตประจำวันของประชาชนทุกฝีก้าว เช่น หุ้นส่วนในธุรกิจโทรคมนาคม กล้องวงจรปิด เครื่องมือแพทย์ กิจการด้านอุตสาหกรรมอาหาร รวมไปถึงบริษัทรักษาความปลอดภัยของเอกชน หรือการดักฟังทางโทรศัพท์อันเป็นละเมิดสิทธิ์ประชาชนโดยตรง โดยวงจร ของการทุจริต มีการพัฒนาซับซ้อนมากยิ่งขึ้น มีการใช้เงินจำนวนมาก เพื่อเข้าสู่อำนาจรัฐของอาชญากร หรือเพื่อให้มาซึ่งการเข้าถึงประโยชน์มหาศาลจากงบประมาณประเทศ และยิ่งยากต่อการตรวจสอบ ข้อสำคัญมีแนวโน้มไปสู่การก่ออาชญากรรมระดับโลก หรือ “อาชญากรรมข้ามชาติ” กล่าว คือ การกระทำความผิดเป็นขบวนการ มีความสลับซับซ้อน ใช้เงินจำนวนมากสร้างอิทธิพลให้ตนเอง ตัดตอนพยานหลักฐาน มีการครอบงำกระบวนการยุติธรรม และยากต่อการบังคับใช้กฎหมาย

การคอร์รัปชันในต่างประเทศ

         การจัดทำดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index) ประจำปี 2008 ระบุว่า ประเทศ ที่มีปัญหาทุจริตติดสินบนหนักที่สุดจากที่สำรวจทั้งหมด 180 ประเทศ (ทั่วโลก) คือ โซมาเลีย พม่า และอิรัก โดย TTI ได้ประเมินให้โซมาเลียได้คะแนนเพียง 1 คะแนนส่วนพม่าได้คะแนน 1.3 คะแนนเท่ากับอิรัก (น้อยเท่ากับมากสุด)

         เหตุการณ์ เล็กๆ ในตูนิเซีย จุดประกายครั้งแรกโดยพ่อค้าเร่ Mohamed Bouazizi เมื่อวันที่17 ธันวาคม 2010 ที่ลุกขึ้นต่อต้านอภิสิทธิ์ชน แต่ได้รับการกระทำอย่างรุนแรงเหนือศีลธรรมgเป็นการตอบกลับ จนกระทั่งวันที่ 14 มกราคม 2011 การประท้วงต่อต้านของประชาชน ทำให้ประธานาธิบดี Zine El Abidine Ben Ali ผู้ปกครองตูนิเซีย (ตั้งแต่ปี 1987) ต้องก้าวลงจากตำแหน่งด้วยข้อหาการคอร์รัปชันและการใช้อำนาจกดขี่ประชาชน เหตุการณ์ดังกล่าวได้กระพือและเป็นจุดเริ่มต้นที่เรียกว่า การปฏิวัติจัสมิน (Jasmine Revolution) ก่อนจะขยายตัวกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า อาหรับสปริง (Arub Spring) ไปทั่วแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง 

         ผลการศึกษาประเทศที่ยากจน (เช่น ประเทศอียิปต์) พบว่า ชาติ ที่มีมรดกวัฒนธรรมเก่าแก่และยิ่งใหญ่ของโลก มีพีระมิดและสืบทอดอารยธรรมที่ล้ำค่าของอียิปต์ แต่ปัจจุบันมีฐานะเป็นแค่ประเทศยากจนติดอันดับโลก คำถามที่ว่า ทำไมประเทศอียิปต์ยากจน ? เหตุผลต่างๆ มีมากมาย แต่ในที่สุด เมื่อประชาชนอียิปต์รวมตัวกันชุมนุมประท้วงรัฐบาลและขับไล่ผู้นำและกล่าว เป็นเสียงเดียวกันว่า ความยากจนของอียิปต์มาจากการเป็นรัฐที่คอร์รัปชัน 

         นอกจากนั้นการข้อหาคอร์รัปชันยังเขย่ารัฐบาลในประเทศบาห์เรน ลิเบีย ซีเรีย และเยเมน ด้วย การลุกฮือโค่นล้มรัฐบาลในโลกอาหรับเริ่มมานับแต่ปี 2554 ประสบการณ์จากประเทศใกล้เคียงน่าจะทำให้การเมืองในโลกอาหรับดีขึ้นหรือปฎิรูปประเทศ แต่ผลสำรวจกลับพบว่า ปัญหาคอร์รัปชันกลับแย่ลงกว่าเดิมในเกือบทุกประเทศ ทั้งที่ประเด็นนี้เคยเป็นเหตุผลหลักของการลุกฮือขับไล่รัฐบาลและผู้นำ โดยใน 4 ประเทศที่มีการเปลี่ยนรัฐบาล ปรากฏว่าผู้คนส่วนใหญ่ใน 3 ประเทศได้แก่ อียิปต์, ตูนิเซีย และเยเมน มีความคิดว่าประเทศของตนเกิดการทุจริตประพฤติมิชอบมากขึ้นยิ่งกว่า 2-3 ปีก่อน ยกเว้น ลิเบีย ที่มีเพียง 46% คิดว่าประเทศตนมีคอร์รัปชันมากขึ้น 

        ส่วนหลายชาติอาหรับที่ไม่เผชิญการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลและขับไล่ผู้นำ แต่ผลพวงของอาหรับสปริงได้เพิ่มความตึงเครียดทางการเมือง ผลสำรวจก็พบเช่นกันว่าผู้คนส่วนใหญ่เห็นว่าปัญหาคอร์รัปชันแย่ลงกว่าเมื่อ 2 ปีก่อน ไม่ว่าจะเป็นที่เลบานอน (84%), โมร็อกโก (56%) และอิรัก (60%) 

        อินเดียนเอ็กซ์เพรสส์ของอินเดีย รายงานว่า บริษัทที่ปรึกษาความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ (เพิร์ก) ได้จัดอันดับการทุจริต ใน 16 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 7 ของประเทศ และเขตเศรษฐกิจที่ทุจริตมากที่สุด ส่วนอันดับ 1 คือ กัมพูชา 

       จุดจบของผู้/กลุ่มคอร์รัปชันมีทางเลือกให้ไม่มากนัก ได้แก่ ประชาชนเดินขบวนขับไล่หรือเนรเทศ, ยุบสภาฯหรือลาออก, ถูกสังหาร และร้ายแรงสุดคือสงครามกลางเมือง

กฎหมายต่อต้าน การทุจริต และคอร์รัปชัน 

         องค์การ สหประชาชาติ เห็นว่าปัญหาดังกล่าวกระทบต่อความบริสุทธิ์โปร่งใสในการบริหารงานภาครัฐ กระทบต่อการปกครองระบบประชาธิปไตย และเศรษฐกิจของโลก จึงได้มีการจัดทำอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 ขึ้น (United Nations Convention against Corruption) ซึ่งมีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2548 โดยมีประเทศที่ลงนามรับรองอนุสัญญาฯ จำนวน 140 ประเทศ จากยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชีย แอฟริกา อเมริการวมทั้งประเทศไทยด้วย มีผลทำให้ทุกประเทศสมาชิกต่างออกกฎหมายควบคุม ต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันhttp://www.islammore.com/view/3434

 

***************************************************

รูปแบบของการทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้งผลประโยชน์ทับซ้อนในปัจจุบัน

      การทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทยหากดูจากภาพลักษณ์การคอร์รัปชัน (Corruption perception index) ที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสระว่างประเทศ (Transparency International) สำรวจจากทัศนะหรือการมองภาพจากกลุ่มนักธุรกิจและประชาชนนทั่วไปเป็นประจำทุกปี ก็อยู่ในเกณฑ์สูงกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่เพื่อนบ้านอื่นๆ เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ มาเลเซีย อย่างสม่ำเสมอไม่เปลี่ยนแปลงนัก เช่น ปี พ.ศ.2545 ไทยได้คะแนน 3.2 (จากคะแนนเต็ม 10) อยู่ในลำดับที่ 64 จากประเทศทั้งหมด ในปี พ.ศ.2548 ไทยได้คะแนน 3.8 อยู่ในลำดับที่ 61 เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ไทยมีภาพลักษณ์การคอร์รัปชันค่อนข้างสูง แต่ที่คะแนนและลำดับดีขึ้นนิดหน่อยในช่วงปี พ.ศ.2545-2548 เพราะดัชนีนี้วัดเรื่องการคอร์รัปชันแบบเก่า เช่น รับสินบน ไม่ได้ครอบคลุมเรื่องปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนที่นักธุรกิจอาจจะไม่ค่อยสนใจ หรือไม่ได้ตระหนักรับรู้มากขึ้น ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทยทั้งแบบเก่าและแบบใหม่ ส่วนใหญ่เกิดมาจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองที่มีลักษณะผูกขาดอำนาจอยู่ในมือคนกลุ่มน้อยที่มีทั้งทุนความรู้ อำนาจทางการเมือง อำนาจในการครอบงำข้อมูลข่าวสาร ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ยากจน การศึกษาต่ำ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่ำ อยู่อย่างกระจัดกระจาย มีการรวมตัวกันน้อย รวมทั้งประเทศไทยมีวัฒนธรรมแบบเล่นพรรคเล่นพวก เป็นผู้ชอบอยู่ใต้ความอุปถัมภ์ หวังพึงพาคนที่รวยกว่า หรือมีอำนาจมากกว่าที่ให้มาช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นเรื่องๆ ให้กับตนได้ มากกว่าที่จะเข้าใจเรื่องสิทธิหน้าที่ของพลเมืองและความเป็นธรรมในระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง การแสวงหาผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจหากรู้จักแบ่งให้ผู้อยู่ให้อุปถัมภ์ด้วยมักถูกถือว่าเป็นเรื่องปกติ

แม้ประเทศไทยจะมีปัญญาชนผู้มีการศึกษาจำนวนหนึ่งที่น่าจะรู้เท่าทันนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ส่วนอื่นได้พอสมควร แต่ส่วนใหญ่พวกเขามักจะมีท่าทีแบบมุ่งทำงานเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจส่วนตนมากกว่าที่จะเป็นพลเมืองดีที่สนใจการมีบทบาททางการเมือง เช่น การตรวจสอบรัฐบาล คนชั้นกลางไทยที่คิดในเชิงมุ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจส่วนตน มักจะใช้แนวคิดว่า นักการเมืองก็มักโกงกันทุกฝ่าย ดังนั้นหากใครโกง แล้วทำงานเก่ง ทำให้เศรษฐกิจโตก็ถือว่าพอรับได้ ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างการสำรวจทัศนคติของประชาชน โดยสถาบันพระปกเกล้า เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2548 พบว่า คนไทยมีความอดทนต่อการทุจริตคอร์รัปชันเพิ่มมากขึ้นกว่าปี พ.ศ. 2544 โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ มีประชาชนผู้ตอบแบบสอบถาม 32.8% ตอบว่า สามารถทนต่อปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลได้ โดยอ้างว่า เพื่อให้งานลุล่วงต่อไปได้

นี่ขนาดเป็นการทุจริตคอร์รัปชันรูปแบบที่พอเห็นได้ชัด แต่ถ้าเป็นรูปแบบการหาผลประโยช์ทับซ้อน ที่ไม่ผิดกฏหมายและเห็นได้ยาก ประชาชนไทยยังไม่ตระหนักหรือไม่ถือว่า เป็นการทุจริตคอร์รัปชันด้วยซ้ำ การขาดความรู้และความตระหนักว่า ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันทำให้ประเทศชาติสมัยใหม่เสียหายอย่างไร มีส่วนส่งเสริมให้ปัญหาการคอร์รัปชันในประเทศไทยขยายตัวได้มากขึ้น เพราะภาคประชาชนอ่อนแอ ขณะที่ภาคนักธุรกิจการเมืองทีมีอำนาจเข้มแข็งขึ้น ทั้งอำนาจทางธุรกิจ อำนาจทางความรู้ และสามารถหาประโยชน์อย่าพลิกแพลงรูปแบบต่างๆมากมาย

รูปแบบของการทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้งผลประโยชน์ทับซ้อนในปัจจุบัน มีอย่างน้อยที่สุด 15 แบบ คือ

1. การแสวงหค่าเช่าทางเศรษฐกิจ เช่น การผูกขาด การให้สัมปทาน และการเรียกเก็บส่วนแบ่งอย่างผิดกฎหมาย โดยการสร้างการขาดแคลนเทียม เช่น ปัญหาการขาดแคลนน้ำตาล

2. เครพโตเครซี (Kleptocracy ) เป็นการฉกฉวยทรัพยากรของรัฐมาเป็นของครอบครัวและอาจกระทำโดยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

3. การมีผลประโยชน์ทับซ้อน สถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีผลได้ผลเสียส่วนตัว และผลดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ หรือการกระทำหน้าที่โดยขาดความเที่ยงธรรม

4. การใช้อิทธิพลทางการเมืองหาผลประโยชน์จากตลาดหลักทรัพย์ (ปั่นราคาหุ้นตัวเอง)

5. ปกปิดการบริหารงานที่ไม่ถูกต้อง การปิดบังข้อมูลและให้การเท็จ เช่น การทุจริตกรณีลำไยและกล้ายาง

6. การใช้นโยบาย กฏหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่างๆอย่างมีอคติและลำเอียง (เช่น กรณี CTX และการตรวจสอบคุณภาพข้าว)

7. การใช้อิทธิพลทางการค้า แสดงบทบาทเป็นนายหน้าหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน จากกาค้าต่างตอบแทน การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับประเทศคู่ค้า เช่น การแลกไก่กับเครื่องบินรบของรัสเซีย

8. การใช้ทรัพยากรของรัฐไปในทางมิชอบ การปลอมแปลงเอกสาร การฉ้อฉล การใช้กองทุนของรัฐ ไปเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เช่น การใช้ธนาคารของรัฐในโครงการประชานิยม

9. ไม่กระทำการตามหน้าที่แบบตรงไปตรงมา แต่ใช้ลัทธิพรรคพวกแทน เช่น การจัดฮั้วประมูล

10. การให้และการรับสินบน การขู่เข็ญบังคับและการให่สิ่งล่อใจ

11. การยอมรับของขวัญที่ไม่ถูกต้อง เช่น เช็คของขวัญมูลค่าสูง และสินบนมูลค่าสูง

12. ผู้บริหารประเทศทำตัวเป็นผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ของประเทศ ดดยการใช้นโยบายประชานิยม (นักการเมืองให้เงินทอง หรือสิ่งของของรัฐ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการได้รับการสนับสนุนจากประชาชน)

13. ใช้อำนาจของตำรวจ ทหาร และข้าราชการในทางที่ผิด (ข่มขู่ คุกคามและทำร้ายให้เกิดความเกรงกลัวในการชุมนุมประท้วงนโยบายรัฐบาลและในการเลือกตั้ง)

14. ทุจริตการเลือกตั้ง ทั้งการซื้อเสียงและการทุจริตด้วยวิธีการต่างๆ

15. การบริจาคเพื่อช่วยเหลือการรณรงค์ที่ผิดกฎหมาย (การบริจาคให้แก่นักการเมืองและพรรคการเมืองรัฐบาล เพือที่จะมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายและการออกกฎหมายของรัฐบาล) (สังศิต พิริยะรังสรรค์. คอร์รัปชันที่คุณทักษิณไม่เคยรู้จัก , กรุงเทพธุรกิจ. 12 มกราคม 2549.)

ที่มา นโยบายรัฐบาลด้านเศรษฐกิจ :
การทับซ้อนของผลประโยชน์ทางธุรกิจ (Conflict of Interest)
วิทยากร เชียงกูล
ISBN 974-449-285-6

Corruption Perceptions Index (CPI)

ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (CPI) จัดอันดับโดยองค์กร เพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International: TI) เป็นองค์การนานาชาติ ก่อตั้งในประเทศเยอรมนี  ได้เริ่มมีการจัดทาดัชนีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538
Corruption Perceptions Index (CPI) ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน เป็นการสารวจระดับความรู้สึก/การรับรู้ของกลุ่ตัวอย่างต่อปัญหา คอร์รัปชัน ในประเทศนั้นๆ ข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำ CPI เป็นข้อมูลจากการสารวจจากแหล่งข้อมูล ต่างๆ

หน่วยงานวิจัยที่มีชื่อเสียง
สถาบัน/องค์การระหว่างประเทศอิสระซึ่งยอมรับทั่วโลกแตกต่างกันไป ในแต่ ละปี เช่น
Economist Intelligence Unit สถาบัน เพื่อการพัฒนาการบริหารการจัดการ IMD ที่ปรึกษาความเสี่ยงทางธุรกิจ และทางการเมือง World Bank World Economic Forum หน่วยงานในองค์การสหประชาชาติ เป็นต้น องค์กรความโปร่งใสสากลมีเครื่องมือหรือดรรชนีวัดการ คอร์รัปชันในระดับโลก 5 ตัวด้วยกัน ดรรชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index CPI) เครื่องชี้วัดการคอร์รัปชันทั่วโลก (Global Corruption Barometer GCB) ดัชนีการติดสินบน (Bribe Payers Index BPI)ผลสำรวจการคอร์รัปชัน ของโลก (Global  Corruption Report GCR )
ผลสำรวจความโปร่งใสทางการเงิน (
Promoting Revenue Transparency Project)

ผลสำรวจการต่อต้านคอร์รัปชัน (Transparency in Reporting on Anti- Corruption TRAC)  
***
Corruption Perceptions Index (CPI)
ค่าคะแนนของ
CPI เริ่มตั้งแต่ 0 คะแนน ถึง 10 คะแนน โดย 0 คะแนน เป็นคะแนนต่าสุดหมายถึงเกิดการคอร์รัปชัน สูงสุด ส่วน 10 คะแนน เป็นคะแนนสูงสุดหมายถึงมี ภาพลักษณ์คอร์รัปชันน้อยที่สุดหรือมีความโปร่งใสใน การ บริการสูงสุดสูงสุด (ค่า CPI ยิ่งสูง แปลว่าการคอร์รัป ชัน ยิ่งต่่า)

https://www.slideshare.net/tarayasri/ss-33274908