Hot Topic!
'มานะ' จี้พรรคการเมืองคลอดนโยบายต้านคอร์รัปชัน
โดย ACT โพสเมื่อ Jan 21,2019
- - ขอบคุณข้อมูลจาก ฐานเศรษฐกิจ - -
โดย กมลพร ชิระสุวรรณ
เมื่อไม่นานมานี้ ดร. มานะ นิมิตรมงคลเลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT ได้ทิ้ง "ระเบิดลูกใหญ่" ใส่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แบบไม่เหลือซาก ด้วยการโพสต์บทความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวชี้ให้เห็นว่า มีการจ่ายส่วยให้กับเจ้าหน้าที่และข้าราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดภูเก็ต พร้อมมีเอกสารประกอบยืนยันชัดเจน
"ผมต้องการชี้ให้เห็นว่า เรื่องในลักษณะนี้เกิดขึ้นจริง แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไม่ทราบ หรือ ปิดหูปิดตา อยู่นี่คือวัตถุ ประสงค์ของการโพสต์ในครั้งนี้" เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ"
พร้อมทั้งระบุว่า เรื่องคอร์รัปชันเป็นเรื่องใหญ่ และไม่เคยลดน้อยลงเลย ที่สำคัญส่งผลกระทบกับชีวิตชาวบ้าน นี่เป็นหัวใจหลักของการนำเสนอในครั้งนี้ และจะมีตามมาอีก มีเป็นซีรีส์เลยสิ่งเหล่านี้กระทบกับวิถีชีวิตประชาชน แต่ไม่เคยมีใครทำจริง
ยกตัวอย่าง เช่น กรณีการตั้งด่านลอย ไม่ว่าใครขึ้นมา เป็นใหญ่ ก็บอกว่า จะให้ยกเลิกด่านลอย หายไปสักพัก สุดท้ายเราก็ยังเห็นอยู่ว่า ยังมีการตั้ง ด่านลอยกันอยู่ดีเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันต้องเป็นนโยบาย เป็นเป้าหมายระดับชาติที่ผ่านมาการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันไม่เคยประสบความสำเร็จ แม้แต่ในรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็ยังไม่สามารถแก้ไขได้
"ผมจึงต้องการเรียกร้องให้ "พรรคการเมือง" และ "นักการเมือง" ได้มีแนวทาง มีนโยบายในเรื่องนี้อย่างชัดเจนเรื่องทุจริตคอร์รัปชันอยู่ในกระบวนการการปฏิรูปในระบอบประชาธิปไตย ที่จะมีคนเข้าไปมีอำนาจ อยู่ในรัฐสภา และรัฐบาล จึงมีความจำเป็นที่จะต้องผลักดันให้พรรคการเมืองและนักการเมืองมีนโยบายเรื่องนี้อย่างชัดเจน ไม่เช่นนั้น เราก็จะไม่ได้อะไรเลย" เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัป ชันฯ กล่าวย้ำ
ก่อนหน้านี้องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ได้เผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันของพรรคการเมือง และนักการเมืองในการเลือกตั้ง 2562 พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 3,054 คนทั่วประเทศ แบ่งเป็นผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เคยลงคะแนนเลือกตั้งมาแล้ว 81% และผู้ที่จะลงคะแนนเลือกตั้งเป็นครั้งแรก 19%
พบว่า 28% เห็นว่านโยบาย ของพรรคการเมืองควรตรวจสอบได้ รองลงมา 26% คิดว่าควรจะใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่านำมาสู่การตั้งโต๊ะแถลงข่าว "แจกการบ้าน นักการเมือง ต้านโกง"เมื่อวันที่ 2 มกราคมที่ผ่านมา
"จากวันนั้นถึงวันนี้ เรายังไม่เห็นพรรคใดที่ออกมาให้คำตอบเรื่องนี้เลย เราต้องผลักดันให้เป็นพันธะสัญญากับประชาชน เพราะไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้าน หรือฝ่ายรัฐบาล เมื่อเป็นพันธะสัญญากับประชาชนที่เลือกเข้ามาแล้วจะทำให้ประชาชนได้เห็นว่า พรรค การเมืองนั้นไม่ได้ขี้โม้ หรือเอา แต่พูดจากลั่นแกล้งกัน" ในกฎหมายมีเรื่องการปฏิรูปคอร์รัปชันรวมอยู่ด้วย เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ขึ้นมา จึงอยู่ที่รัฐบาลชุดใหม่ว่า นโยบายเรื่องนี้จะเข้มข้น หรือจืดจางไป หรือสิ่งที่ได้เริ่มจะเดินต่อแบบเข้มข้นขึ้น หรือจะปล่อยเลยตามเลย ผู้บริหารระดับสูงถือว่ามีบทบาทสำคัญ ระยะสั้น คือ ต้องการเห็นทุกพรรคการเมืองมีนโยบายต้านโกงที่จับต้องได้ เมื่อมีการวิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มของประชาชนในเรื่องนี้ขึ้นมากๆ เชื่อว่า จะส่งผล กระทบเป็นวงกว้าง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามมาได้
"ในส่วนขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ มีกระบวนการอย่างต่อเนื่อง การเปิดโปงเรื่องนี้ เป็นเรื่องหนึ่งที่องค์กรทำงานร่วมกับองค์กรอื่น เป็นข้อมูลที่ได้จากเครือข่ายที่มีแนวคิดและทำงานร่วมกัน เรื่อง "ส่วยภูเก็ต" ไม่ใช่เรื่องเด็ดเรื่องเดียวที่อยู่ในมือ ขอให้ติดตามกันไปยาวๆ. " ดร.มานะ ระบุ
เมื่อวันที่ 7 มกราคม ที่ผ่านมา ดร.มานะได้โพสต์ลงบน เฟซบุ๊ก หัวข้อ "ส่วย"พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียประโยชน์ชาติ มีเนื้อหาสรุปได้ว่า สถานบันเทิงผับ-บาร์ในภูเก็ตต้องจ่ายส่วยแห่งละ 37,300 บาทต่อเดือนให้กับผู้ที่อ้างว่า มาจากหน่วยงานต่างๆ รวม 25 หน่วย หากมีลูกจ้างเป็นแรงงานต่างด้าวทำงานอย่างผิดกฎหมายก็ต้องจ่ายรายหัวอีกหัวละ 9,100 บาท เช่น ถ้ามี 3 คนก็ต้องจ่าย 27,300 บาท ประเมินว่า ทั่วเกาะภูเก็ตมีสถานบันเทิงราว 1,000 แห่ง เท่ากับมีส่วยรายเดือนรวมกันมากถึง 37 ล้านบาท ไม่รวมส่วยแรงงานต่างด้าวอีกกว่า 27 ล้านบาท
ดร.มานะ ยังบอกด้วยว่า ข้อมูลชิ้นนี้ได้มาจากข้าราชการผู้ใหญ่ที่นับถือกรุณาส่งมาให้ อาจเป็นเพียงการเปิดโปงบัญชีส่วยอีกครั้งที่ทุกคนพูดถึงและสาปแช่ง แต่ทำอะไรไม่ได้ จนประชาชนตั้งคำถามว่า
"ทำไมเจ้าหน้าที่ของรัฐยังคงทำผิดกฎหมายอย่างโจ่งแจ้งและเป็นขบวนการได้เช่นนี้. สิ่งที่ผู้มีอำนาจแต่ละคนไม่เคยทำ ก็คือออกมาบอกให้สังคมรู้ชัดๆ ว่า เขาลงมือทำอะไรไปแล้วบ้างและต่อไปจะทำอะไร อย่างไร รวมทั้งถามความเห็นประชาชนบ้างว่า อยากให้พวกเขาทำอะไร คนไทยพร้อมจะช่วยอะไร"
การทุจริตมี "วงจรยาว" เพราะนอกจากแต่ละคนต้องหาความร่ำรวยใส่ตนแล้วยังต้องส่งส่วยให้เจ้านายตามลำดับชั้น ใครจะมาเป็นใหญ่หรือรักษาตำแหน่งไว้ ล้วนมีต้นทุนราคาแพง หรือต้องหาทางตอบแทนผู้ใหญ่ที่สนับสนุน มีหลายกรณีจำต้องแบ่งปันกับหน่วยงานอื่นด้วย คนจ่ายสินบนก็ยอมจ่ายหรือเป็นฝ่ายเสนอเงินให้เขาเพราะตัวเองทำบางอย่างผิดกฎหมาย ขณะที่ส่วนใหญ่แม้ไม่ผิดก็ยอมจ่ายเพื่อตัดปัญหา ไม่กล้าสู้ หรือเพราะกลัวเดือดร้อนถูกกลั่นแกล้ง
งานวิชาการจำนวนมาก ระบุสาเหตุที่ส่วยดำรงอยู่ได้ทุกวัน นี้ว่า เป็นเพราะเราขาดมาตรการตรวจจับข้าราชการที่ร่ำรวยผิดปกติไม่มีการปกป้องประชาชน และสื่อมวลชนที่ขุดคุ้ยขัดขวางพฤติกรรมชั่วสังคมไม่เคารพความถูกต้อง วัฒนธรรมนับถือคนรวยคนมีอำนาจ นักการเมืองไม่ใส่ใจแก้ไขปัญหา มุ่งหาประโยชน์และสร้างเครือข่ายของตน กลไกตรวจสอบและรักษาความยุติธรรมของรัฐร่วมฉ้อฉลเสียเอง ระบบเส้นสาย การซื้อขายตำแหน่ง ข้าราชการมีอำนาจและโอกาสใช้ดุลพินิจมากเกินไปโดยที่กฎหมายมีมากจนเฟ้อ แม้หลายเรื่องจะล้าหลังหรือไร้ประโยชน์แล้วก็ยังบังคับใช้อยู่ เป็นต้น
ส่วยเป็นเรื่องผิดกฎหมายที่ต้องแอบทำกันลับๆ ในประเทศทั่วโลก ไม่ใช่พฤติกรรมที่พบเห็นได้ง่ายๆ ในวิถีชีวิตอย่างที่เห็นในบ้านเราทุกวันนี้
ส่วยจึงเป็นอีกปัญหาคอร์รัปชันขั้นวิกฤติ ที่พรรคการ เมืองและนักการเมืองควรเสนอต่อประชาชนในการหาเสียงเลือกตั้งว่า มีนโยบายในการปราบปรามอย่างไร
"เรายังไม่เห็นพรรคใดที่ออกมาให้คำตอบเรื่องนี้เลย เราต้องผลักดันให้เป็นพันธะสัญญากับประชาชน"
#ร่วมเป็นคนไทยตื่นรู้สู้โกง
#ACTองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน