Hot Topic!

ยาแรง! แก้ประมูลโกง ส่งแผนป้องคอร์รัปชัน

โดย ACT โพสเมื่อ Aug 09,2018

- - ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโพสต์ - -

 

ยาแรงคอร์รัปชันประกาศในราชกิจจาฯ แล้ว โครงการประมูลงานมูลค่าตั้งแต่ 500 ล้าน ผู้ประกอบการต้องแนบเอกสารนโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตด้วย เข้มระบบตรวจสอบภายในให้กำหนดบทลงโทษคนโกง ส่วนโครงการตั้งแต่ 1 พันล้านบาทให้จัดทำข้อตกลงคุณ ธรรม พร้อมให้มีผู้สังเกตการณ์ตรวจสอบอีกชั้น

 

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ราชกิจจานุ เบกษาเผยแพร่ประกาศต่อต้านการคอร์รัป ชัน จากคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต รวม 2 ฉบับ ฉบับแรก เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของนโยบายและแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่ผู้ประกอบการต้องจัดให้มี ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560

 

สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ กำ หนดให้ผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมการเสนอราคาในโครงการที่มีวงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป ต้องจัดให้มีนโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่เหมาะสม และระบุเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน

 

ประกาศฉบับนี้กำหนดให้ผู้ประกอบการจะต้องมีการกำหนดนโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง อาทิ มีการกำหนดนโยบาย วิธีการหรือมาตรการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง มีการกำหนดหลักจรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct) เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง นโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างจะต้องครอบคลุม

 

นอกจากนี้ ยังระบุให้กรรมการผู้ บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ โดยจะต้อง ห้ามมิให้ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ตลอดจนบุคคลที่สาม ที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการมีการติดสินบน ประ กอบด้วย ไม่ให้ เสนอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด หรือจูง ใจให้ร่วมดำเนินการใดๆ ทั้งในทางตรง และทางอ้อม อันเป็นการให้ประโยชน์ในการเสนอราคา หรือการสมยอมกัน ในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ อันนำมาซึ่งความได้เปรียบและได้รับผลประโยชน์ตอบแทนบางประการใน กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง หรือการปฏิ บัติงานตามสัญญา ทั้งก่อนระหว่างการ เสนอราคา และหลังการทำสัญญาจัดซื้อ จัดจ้าง หรือเพื่อรักษาผลประโยชน์อื่นใดอันไม่เหมาะสมตามหลักจรรยาบรรณธุรกิจ

 

กำหนดผู้ประกอบการจะต้องจัดให้มีการสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์นโยบายและแนวทางการป้องกัน

 

การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น จัดให้มีการสื่อสารประกาศหรือเผยแพร่นโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง ให้กับคณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับบริษัทให้รับทราบ

 

ต้องกำหนดบทลงโทษคนโกง

 

จัดให้มีการอบรมหรือส่งเสริมให้ผู้บริหารและพนักงานได้รับการอบรมเกี่ยวกับนโยบาย วิธีการหรือมาตรการป้องกันการทุจริตที่บริษัทหรือหน่วยงานอื่นจัดขึ้น จัดให้มีการเผยแพร่นโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างให้กับบุคคลภายนอกทราบผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น ระบบเครือข่ายสารสนเทศของหน่วยงาน เอกสารแผ่นพับ

 

นอกจากนี้ ต้องกำหนดบทลงโทษหรือข้อบังคับสำหรับผู้กระทำการทุจริต จัดให้มีช่องทางหรือระบบการแจ้งเบาะ แส ของข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริต หรือพบการกระทำที่ส่อทุจริต กำหนดหน่วยงานภายในที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการป้องกันการทุจริตที่ชัดเจน

 

ผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมการเสนอราคาในโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป ต้องแนบเอกสารที่เป็นนโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อเป็นเอกสารประกอบการเสนอราคา

 

และกำหนดให้หน่วยงานของรัฐกำหนดเงื่อนไขในขอบเขตของงาน และประกาศจัดซื้อจัดจ้างว่าคุณสมบัติผู้เข้าร่วมการเสนอราคาจะต้องมีนโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง พร้อมทั้งต้องแนบเอกสารหลักฐาน และแบบตรวจสอบข้อมูลของผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมการเสนอราคาในโครงการที่มีวงเงินตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป ประกอบเป็นเอกสารการเสนอราคา โดยผู้ประกอบการจะต้องมีการดำเนินการตามแบบตรวจสอบข้อมูลครบถ้วนทุกข้อจึงจะผ่านการพิจารณาคุณสมบัติของผู้เสนอราคา

 

สำหรับประกาศฉบับที่ 2 เรื่อง แนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กำหนดให้คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (ค.ป.ท.) ออกประกาศกำหนดแนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ แบบของข้อตกลงคุณธรรม การคัดเลือกผู้สังเกตการณ์และการจัดทำรายงาน

 

ข้อตกลงคุณธรรม

 

ทั้งนี้ "ข้อตกลงคุณธรรม" (Integrity Pact: IP) หมายความว่า ข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ เจ้าของโครงการและผู้ประกอบการที่จะเข้ายื่นข้อเสนอ โดยฝ่ายหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและฝ่ายผู้ประกอบการที่จะเข้ายื่นข้อเสนอได้ตกลงกันว่าจะไม่กระทำการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง

 

และให้มีผู้สังเกตการณ์ ซึ่งมีความ รู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ที่จำเป็นต่อโครงการจัดซื้อจัดจ้างนั้นๆ เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการจัดซื้อจัดจ้าง ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของพัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างและร่างเอกสารเชิญชวนจนถึงขั้นตอนสิ้นสุดโครงการ โดยผู้สังเกตการณ์ต้องมีความเป็นกลาง และไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในโครงการจัดซื้อจัดจ้างนั้น และให้รายงานความเห็นพร้อมข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ ค.ป.ท.

 

การจัดทำข้อตกลงคุณธรรม ต้องเป็นโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น โครงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป  โครงการจัดซื้อจัดจ้างที่สาธารณชนสนใจ เช่น โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โครงการที่มีความเสี่ยงในการทุจริต เป็นต้น

 

เมื่อหน่วยงานของรัฐได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณที่จะใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีอำนาจในการพิจารณางบประมาณแล้ว ให้แจ้งข้อมูลโครงการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ให้คณะกรรมการ ค.ป.ท. ภายใน 15 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณเพื่อพิจารณาคัดเลือกให้จัดทำข้อตกลงคุณธรรม ทั้งนี้ การแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้จัดทำตามแบบและวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด

 

 
 
 

#ร่วมเป็นพลเมืองตื่นรู้สู้โกง

#ACTองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน

 

Follow LINE: http://bit.ly/2luX9Dt
Follow Facebook: http://bit.ly/2z1Dxvw