Hot Topic!
เร่งเครื่องสอบโกงชลประทาน
โดย ACT โพสเมื่อ Jul 23,2018
- - ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโพสต์ - -
ป.ป.ท.ลุยสอบโกงชลประทาน 3 จังหวัดใต้ เผย 2 โครงการ เข้าข่ายเร่งตรวจสอบพร้อมชงไต่สวนข้อเท็จจริง ขณะที่ภาคประชาชนชงยึดทรัพย์ยกก๊วน
เมื่อวันอาทิตย์ นายสัญชาติ อุปนันชัย ผู้อำนวยการ กองอำนวยการต่อต้านการทุจริต สำนักคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กล่าวว่า หลังได้รับแจ้งเบาะแสทุจริตโครงการก่อสร้างป้องกันตลิ่งพังในพื้นที่ จ.ยะลา ได้ร่วมกับ ป.ป.ท.ภาค 9 และหน่วยงานในพื้นที่เข้าตรวจสอบ 2 โครงการที่ กม.26 หมู่ที่ 2 ต.ตาเนาะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา มูลค่า 14 ล้าน และที่บ้านปาแตรายอ หมู่ที่ 2 ต.เกะรอ อ.รามัน มูลค่า 21 ล้าน พบว่าทั้ง 2 โครงการมีการทุจริตโดยไม่ได้ทำตามแบบแปลน
นายสัญชาติกล่าวต่อว่า ผลตรวจสอบโครงการที่ 2 พบว่าสัญญาก่อสร้างเริ่ม 25 เมษายน 2560 กำหนดระยะเวลาตามสัญ ญา 150 วัน ดำเนินการเสร็จสิ้น ตรวจรับและเบิกจ่ายงบประมาณเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2560 แต่จากการตรวจสอบทางกายภาพพบว่าการมีการก่อสร้างไม่เป็นไปตามสัญญาและแบบรูปรายการ เช่น ความยาวโครงการตลอดเส้น 500 เมตร วัดได้ 470.6 เมตร ขาดไป 29.4 เมตร (ช่วง กม.+277 ฐานล่าง mattress หุ้ม pvc ขาดระยะไป 22.5 เมตร) ฐานล่าง mattress กว้าง 5 เมตร วัดได้ 4 เมตร ขาดไป 1 เมตร
ก่อสร้างผิดแบบ ใช้ mattress แทน gabions ระยะยาว 2 เมตร วัดได้ 0.68 เมตร ขาดไป 1.32 เมตร ชั้น 1 ความสูง 1 เมตร วัดได้ 0.60 เมตร ขาดไป 0.40 เมตร ชั้น 2 สูง 1 เมตร วัดได้ 0.95 เมตร ขาดไป 0.05 เมตร ไม่มี mattress หุ้ม pvc บนไหล่คันดิน ตลอด 500 เมตร ไม่มีงานเหล็ก dowel bar ทั้งหมด 4,200 จุด ไม่พบเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก 126 ต้น
"ป.ป.ท.จะรายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงกับผู้เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ได้ ตรวจสอบขยายผลโครงการงบ ประมาณลักษณะเดียวกัน ซึ่งเบื้องต้นพบว่ามีในกลุ่ม 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัต ตานี และนราธิวาสด้วย พร้อมกันนี้ได้แจ้งให้กรมชลประทานเจ้าของงบประมาณดำเนินการตามมติ ครม.อีกด้วย" นายสัญ ชาติระบุ
สำหรับจังหวัดยะลาได้มี การตรวจสอบโครงการในลักษณะเดียวกันนี้ 2 โครงการ คือโครง การป้องกันตลิ่ง บ้าน กม.26 ใน หมู่ที่ 2 ต.ตาเนาะปูเต๊ะ อ.บันนัง สตา ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 24 ล้านบาทเศษ และโครงการอาคารป้องกันตลิ่ง หลังโรงเรียนบ้านปาตารายอ หมู่ที่ 2 ต.เกะรอ อ.รามัน ใช้งบประมาณ 21 ล้านบาทเศษ ซึ่งทั้งสองโครงการดำเนินการในลักษณะเดียวกันและมีบริษัทคู่สัญญาการก่อสร้างเดียวกัน กรรมการตรวจรับงานคนเดียวกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเบื้องต้นประธานและกรรมการผู้ตรวจรับงาน คือกลุ่มที่เป็นคนของรัฐต้องรับผิดชอบการทุจริตที่เกิดขึ้น ส่วนบริษัทที่เป็นคู่สัญญากับชลประทานคือผู้ที่ต้องรับผิด ชอบและถูกดำเนินการตามกฎหมาย โดยขณะนี้ได้รายงานให้ พ.ท.กรทิพย์ ดาโรจน์ เลขาธิการ ป.ป.ท.สั่งดำเนินการตามขั้นตอน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้หลังจากที่ ป.ป.ท.ลงพื้นที่ตรวจสอบและมีการแถลงข่าวการทุจริตของโครงการชลประทานทั้ง 2 แห่ง ได้มีสื่อรัฐในพื้นที่พยายามจ่ายเงินให้ผู้สื่อข่าวเพื่อมิให้เสนอข่าวดังกล่าว แต่มีผู้สื่อข่าวจำนวนหนึ่งไม่รับเงินดังกล่าว
ในขณะที่ภาคประชาสังคมในพื้นที่แสดงความคิดเห็นว่า เรื่องการทุจริตที่เกิดขึ้นไม่ควรจบที่เอาผิดทางกฎหมายอย่างเดียว แต่ต้องมีการตรวจสอบทรัพย์สินครอบครัวของผู้เกี่ยวข้องกับการทุจริตในครั้งนี้ ถ้ามีหลักฐานว่าร่ำรวยผิดปกติก็ต้องดำเนินการยึดทรัพย์ให้ตกเป็นของรัฐเพราะมาจากการทุจริต
#ร่วมเป็นพลเมืองตื่นรู้สู้โกง
#ACTองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน